การพัฒนารูปแบบการดูแลแผลในผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีแผลเรื้อรังสถาบันราชประชาสมาสัย

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ พุ่มโพธิ์ทอง หัวหน้าหอผู้ป่วยโรคเรื้อน (อ4) สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค Corresponding author
  • นรินทร กลกลาง รองหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลฝ่ายวิชาการ สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแล, แผลเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเรื้อน, สถาบันราชประชาสมาสัย

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลแผลเรื้อรังผู้ป่วยโรคเรื้อน สถาบันราชประชาสมาสัย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหารูปแบบการดูแลแผลเรื้อรังผู้ป่วยโรคเรื้อน ระยะที่ 2 ปฏิบัติการร่างรูปแบบฯ ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบฯ ระยะที่ 4 ประเมินผลการปฏิบัติตามรูปแบบฯ ประชากรเป้าหมายการวิจัย คัดเลือกแบบเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยโรคเรื้อน (อ4) แพทย์ศัลยกรรม ผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีแผลเรื้อรัง รวม 23 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม แบบสอบถามการยอมรับและพึงพอใจ แบบคัดลอกข้อมูลผลลัพธ์ทางการพยาบาล และแบบตรวจสอบความครบถ้วนของขั้นตอนการดำเนินการตามรูปแบบฯ เป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยคณะผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบที่สามารถปฏิบัติได้จริง เหมาะสมกับบริบทของสถาบันฯ คือ WOUND LEP Model (2) ผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีแผลเรื้อรังร้อยละ 100.0 มีการหายของแผลดีขึ้นจากเดิม 1ระดับ จำนวนวันนอนนอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 30 วัน ร้อยละ 100.0 ไม่พบอุบัติการณ์การติดเชื้อในกระแสเลือดจากแผลเรื้อรัง ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย (3) ผู้ให้บริการมีคะแนนการยอมรับเฉลี่ย (Mean = 4.63, SD = .50) คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย (Mean = 4.54, SD = .52) ซึ่งเป็นระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้รับบริการมีคะแนนการยอมรับเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (Mean =4.66, SD = .49) คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยระดับมาก (Mean = 4.41, SD = .51)

References

Barreto, J. G., & Salgado, C. G. Clinic-epidemiological evaluation of ulcers in patients with leprosy sequelae and the effect of low level laser therapy on wound healing: a randomized clinical trial. BMC infectious diseases 2010; 10:237.

กลุ่มการพยาบาล สถาบันราชประชาสมาสัย. สถิติตัวชี้วัด4 มิติ. 2566.

นุชรี จันทร์เอี่ยม, ศรีวรรณ เรืองวัฒนา, มาลีวรรณ เกษตรทัต, ศศิธร พิชัยพงศ์ และ แสงอรุณ ใจวงศ์ผาบ. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง โรงพยาบาลลำพูน. Lanna Public Health Journal 2562.;15(1):1-13.

ประสิทธิ์ ลีระพันธ์. การวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ : แนวคิดและกระบวนการปฏิบัติการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; (2567).

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์;(2560).

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์, และกาญจนา ตั้งชลทิพย์. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : การจัดการข้อมูล การตีความ และการหาความหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม:สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; (2552).

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สํานักการพยาบาล กรมการแพทย์; 2550.

Mahmoud, Amani & Mokhtar, Fadul & Moreljwab, Mohammed & Idress, Eltayeb & Hussain, Hamza & Balola, Ahmed & Mustafa, Murtada & Tia, Gabir & Mohamed, Abdalla & Osman, Ahmed & Alharbi, Mohammed & Jarelnpe, Ahmed & Fadlalmola, Hammad Ali & Mokhtar, Amani & Idress, Abdelazeem. Nurses Application of the "TIME" Framework in the Wounds Assessment and Its Impact on the Wound Care Competences. Nursing and Health 2023; 8: 11-17.

Xu B, Wang XG, Meng ZL, Zhu LY, Zhang YX, Wu P & Han CM. Principles of extramural health care for chronic wounds in China. Chinese Journal of Traumatology. [Internet]. 2023. [cited 2024 September 14]; 26: 187-192. Available form https://www.ncbi.nlm.nih. gov/pmc/articles/PMC10388252/

Upputuri B., Srikantam A. & Mamidi RS. Comorbidities associated with non- healing of plantar ulcers in leprosy patients. PLOS Neglected Tropical Diseases. [Internet]. 2020. [cited 2024 September 14]; 1-12. Available form https://doi.org/10.1371/journal.pntd. 0008393

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press; (1981).

อรอนงค์ น้อยเจริญ. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลครบวงจรสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อนสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง สถาบันราชประชาสมาสัย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2565;3:28-41.

ณิภากร งามภักดิ์. การพัฒนาระบบการดูแลบาดแผลแบบมีเป้าประสงค์แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2567] เข้าถึงได้จาก https://hpc2appcenter. anamai.moph.go.th/academic/web/files/2567/research/MA2567-005-01-0000001856-0000002033.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

พุ่มโพธิ์ทอง . ว., & กลกลาง น. (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลแผลในผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีแผลเรื้อรังสถาบันราชประชาสมาสัย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 466–476. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3391