ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยสูงอายุ ที่มีความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ปิยะพร พุ่มแก้ว วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ , การดูแลสุขภาพตนเอง , ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลโขงเจียม จำนวน 52 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2567 ระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Repeated measure One-way ANOVA
     ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการจัดการตนเองหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงสูงขึ้นกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.001) และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบนและตัวล่างลดลงหลังได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.001)

References

กรมควบคุมโรค. (2566, 11 พฤษภาคม). ควบคุมความดันโลหิต ยืดชีวิตให้ยืนยาว https://ddc.moph.go.th/odpc9/news.php?news=34026&deptcode=odpc9&news_view=722299

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (2558). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ:ฮั่วนําพริ้นติ้ง.

วิชัย เอกพลากรและคณะ (2564) การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) [อินเทอร์เน็ต] 2021 [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2024] เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5425

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). โรคความดันโลหิตสูง (Hypertention) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=52

Rosenstock IM. The Health Belief Model and preventive health behavior. Health Educ Monogr 1974; 2:354-386.

ทินณรงค์ เรทนู , มุกดา หนุ่ยศรี และ นภาเพ็ญ จันทขัมมา (2564). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฏฐินี เสือโต, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล และมธุรส ทิพยมงคลกุล (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต ในกลุ่มอายุ 35-59 ปี ที่ควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2561;32(2):95-115.

ภาสิต ศิริเทศ และ ณพวิทย์ ธรรมสีหา (2562). ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก.ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

พุ่มแก้ว ป. . (2024). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยสูงอายุ ที่มีความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 455–465. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3392