ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ อสม. เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิต แบบรุนแรงชนิด Community Acquired Sepsis ในผู้สูงอายุ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
โปรแกรมการให้ความรู้, อาสาสมัตรสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงชนิด Community Acquired Sepsis, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ อสม.เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงชนิด Community Acquired Sepsis ในผู้สูงอายุ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 49 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึงเดือนสิงหาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการให้ความรู้ อสม. เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงชนิด Community Acquired Sepsis ในผู้สูงอายุ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินความรู้เรื่องการติดเชื้อในกระแสโลหิต แบบประเมินทัศนคติและแบบประเมินความสามารถปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงชนิด Community Acquired Sepsis ในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t- test
ผลการวิจัยพบว่า 1) อสม. มีระดับความรู้ ทัศนคติ และความสามารถในการปฏิบัติ หลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ ความสามารถปฏิบัติงาน ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
References
Singer M, Deutschman CS, Seymour C. The third international consensus definitions for sepsis and septic shock (sepsis-3). Journal of the American Medical Association 2016; 315(8): 10-801.
Song YH, et al. Predicting factors associated with clinical deterioration of sepsis patients with intermediate levels of serum lactate. Shock 2012; 38(3): 54-249.
กนก พิพัฒนเวช. ปัจจัยที่มีผลลดอัตราการ เสียชีวิตผู้ป่วยที่มี sepsis ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและบำบัดวิกฤติ 2551; 29: 144-135.
World Health Organization. Sepsis. [Internet]. 2020 [cited 2024 February 23]. Available from: https://www.who.int/health-topics/ sepsis#tab=tab_1
Ministry of Public Health. Mortality Rate in Community Acquired Sepsis. Health Data Center: HDC [Internet]. 2019 [cited 2024 April 10]. Available from: https://kkcard.moph.go.th/sepsis/template_sepsis2562.pdf.
ดนัย อังควัฒนวิทย์. อะไรคือ “ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด” [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue023/health-station
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมการแพทย์. (2564). KPI กระทรวงสาธารณสุข: อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community acquired [อินเตอร์เน็ต]. 2559 สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1608)
นิรันดร เทียนรังษี. (2564). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Septic shock แผนกหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงจาก: https://skko.moph.go.th
สุภชัย นาคสุวรรณ์, กรีรัตน์ อุปลา, และอรวรรณ หนูเสมียน, การพัฒนาระบบและนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2562.
กำธร มาลาธรรม, พรทิพย์ มาลาธรรม, และสุรางค์ สิงหนาท. โรคติดเชื้อในผู้สูงอายุ.รามาธิบดีพยาบาลสาร 2550; 13(3): 272-287.
สุภาภรณ์ บุญยานา. การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงชนิด Community Acquired Sepsis กลุ่มผู้สูงอายุป่วย ต.หนองบัว อ. เมือง จ.อุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2565; 30(3) : 346 – 351.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. แบบรายงานการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รอบที่ 1; 2567.
โรงพยาบาลอัมพวา. แบบบันทึกการทำกิจกรรมทบทวนตามรอยโรค (Clinical tracer) ; 2566
กิตตราพร เมฆขจร. ประสิทธิผลของการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุตามโครงการอุ๊ยสอนหลานสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นแม่วาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
Zimbardo PG., Ebbesen EB, Maslach C. Influencing Attitudes and Changing Behavior: An Introduction to Method, Theory, and Applications of Social Control and Personal Power. Massachusettes: Addison-Wesley Publishing Company; 1977.
ธวัชชัย ยืนยาว, และเพ็ญนภา บุญเสริม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิง ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563; 35(3) : 555 - 564.