ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ภาวะสุขภาพจิต, ตำบลไทรใหญ่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของแรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย ด้านการสนับสนุนทางอารมณ์ ด้านการสนับสนุนทางวัตถุและบริการ และด้านการสนับสนุนทางข้อมูลข่าวสาร และภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในตำบลไทรใหญ่ และ2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในตำบลไทรใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม และ3) ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ซึ่งค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ทั้งหมด 22 ข้อ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 โดยค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 มีค่าความเชื่อมั่นแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านการสนับสนุนทางอารมณ์ เท่ากับ 0.88 ด้านการสนับสนุนทางวัตถุและบริการ เท่ากับ 0.89 ด้านการสนับสนุนทางข้อมูลข่าวสาร เท่ากับ 0.86 ส่วนแบบสอบถามภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 ดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือนพฤษภาคม-เดือนกันยายน 2567 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.33, S.D.= 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการสนับสนุนทางอารมณ์มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมาก (= 4.48, S.D.= 0.60) รองลงมาคือ ด้านการสนับสนุนทางวัตถุและบริการมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (= 4.33, S.D.= 0.58) ส่วนด้านการสนับสนุนทางข้อมูลข่าวสารมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมาก (= 4.18, S.D.= 0.68) และระดับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในตำบลไทรใหญ่ สูงสุดมีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับดีกว่าคนทั่วไป จำนวน 127 คน คิดเป็นร้อยละ 79.40 รองลงมาคือมีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับเท่ากับคนทั่วไป จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 13.80 และต่ำสุดมีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับต่ำกว่า คนทั่วไป จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 6.90 จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในตำบลไทรใหญ่ พบว่า ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคมด้านการสนับสนุนทางอารมณ์ และด้านการสนับสนุนทางข้อมูลข่าวสาร เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
วริศา พานิชเกรียงไกร, เทิดศักดิ์ เดชคง, ชะเอม พัชนี และบรรลุ ศุภอักษร. (2566). ประเทศไทยกับการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพจิตในเวทีระดับโลก. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 17(1), 183-190. https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5849/hsri-journal-v17n1-p183-190.pdf?sequence=1&isAllowed=y
ณัฐวดี เองสมบุญ และสุธีรา เตชะธนะวัฒน์. (2566). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในนิสิตทันตแพทย์. วารสารทันตแพทย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2), 67-82. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15449/12527
กรมสุขภาพจิต. (2566, 29 พฤศจิกายน). กรมสุขภาพจิต เดินหน้าโครงการสร้างสุขภาวะทางใจเพื่อ ผู้สูงวัยพร้อมขับเคลื่อนการขยายเครือข่ายเพื่อสร้างเพื่อนดีดูแลใจ...ผู้สูงวัยให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความสุข. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31914
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564, 3 มีนาคม). ผู้สูงอายุกับเรื่องสุขภาพจิต. https://www.dop.go.th/th/know/15/412
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560, 20 กรกฎาคม). กรมสุขภาพจิต แนะใช้ 5. ในยุค 4.0. https://www.thaihealth.or.th/?p=256027
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566, 1 พฤศจิกายน). คัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้าน คืออะไร สำคัญอย่างไรกับผู้สูงวัย.ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/lifestyle/lifestyle45plus/2737197
ภาณุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง. (2564, 16 มิถุนายน). สุขภาพจิตผู้สูงอายุ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม. Nakornthon Hospital. https://www.nakornthon.com/Article/Detail/สุขภาพจิตผู้สูงอายุ-เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
องค์การบริหารส่วนตำบลไทรใหญ่. (2564, 9 เมษายน). สภาพทั่วไปของตำบลไทรใหญ่. https://www.saiyai.go.th/condition
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2547, 21 ธันวาคม). แบบสอบถาม Thai General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย (Thai GHQ 12-28-30-60). กรมสุขภาพจิต,กระทรวงสาธารณสุข. https://dmh.go.th/test/download/files/ghq.pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2567, 25 พฤษภาคม). กลุ่มรายงานมาตรฐานประชากร จำแนกกลุ่มอายุรายปี. https://shorturl.asia/yGaAw
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). รายงานการวิจัยเรื่อง อิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุเขต กรงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม. https://dspace.spu.ac.th/server/api/core/bitstreams/926038ea-4b07-4649-a343-385db1b48c3d/content
กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. (2560). แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ฉบับสั้น Thai Geriatric Mental Health Assessment Tool (T-GMHA-15). http://www.sorporsor.com/happy2017/t_gmha15_index.php
สุนิสา ค้าขึ้น, หฤทัย กงมหา, วิจิตร แผ่นทอง และปรางทิพย์ ทาเสนาะ. (2563). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล,36(3). 150 – 163. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/246933/167650
พาริณี สุกใส, สุธรรม นันทมงคลชัย, ศุภชัย ปิติกุลตัง,โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ และพิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(5). 809 – 818. https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/5078/4809