ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
โปรแกรม, การสนับสนุนทางสังคม , การมีส่วนร่วม , โรคเลปโตสไปโรซีสบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน รวม 60 คน คือ กลุ่มทดลอง คือ ประชาชนตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเปรียบเทียบ คือ ประชาชนตำบลละลม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2567 ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีส ทัศนคติการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม ความตั้งใจในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส และพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2556). สรุปรายงานการป่วย พ.ศ.2556 สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2556.
สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. (2566). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2566. กรุงเทพฯ : องค์การส่งเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2566). การดำเนินป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในปัจจุบัน.
ปฐมพร พริกชู และ นัจมี หลีสหัด. (2565). การพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ตลาดชุมชนเมือง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขล้านนา ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 265.
มยุรี สิมมะโรง. (2565). รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรชีสของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหว้าน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กันยายน – ธันวาคม 2565.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกตาล. (2566). สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2566.
Lemeshow, S. et al. Adequacy of Sample Size in Health Studies. Chichester: John Wiley & Sons. 1990.
ชุติมา เกษมศานติ์. (2562). ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนชนบท จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุข, 12(3), 45-58.
สุชาดา แสงทอง. (2563). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพ, 18(2), 23-37.
อรัญญา ศรีสุวรรณ. (2564). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมและการให้ความรู้ต่อการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการพยาบาลชุมชน, 10(1), 67-80.
ธนพร วัฒนสุวรรณ. (2565). ผลของการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสนับสนุนทางสังคมในการลดการแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขท้องถิ่น, 14(4), 101-115.
สมบัติ อุดมศักดิ์. (2561). ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนเกษตรกรรม. วารสารวิจัยสาธารณสุข, 20(1), 45-60.
ณัฐพล รัตนบุญ. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในพื้นที่ชนบท. วารสารการส่งเสริมสุขภาพชุมชน, 12(2), 78-92.
ประสิทธิ์ มณีวรรณ. (2563). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนผ่านการสนับสนุนทางสังคม. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข, 15(3), 99-113.