การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตวายเรื้อรังร่วมกับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ที่บ้าน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • กัลยา นนท์สกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

การพยาบาล, การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, ตวายเรื้อรัง, โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตวายเรื้อรังร่วมกับการล้างไตทางช่องท้องมาตรฐานตามวิชาชีพ ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 47 ปี เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตวายเรื้อรังร่วมกับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง คลินิกล้างไตทางช่องท้องส่งใบ Smart COC เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 มาที่กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน ประเมินผู้ป่วยพร้อมญาติ เพื่อวางแผนการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล พบว่า ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลแบบองค์รวมต่อเนื่องที่บ้าน มีการวางแผนระยะก่อนเยี่ยม และติดตามเยี่ยมบ้าน จำนวน 4 ครั้ง ประสานงานการดูแลร่วมกันกับสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติ ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติที่จะเผชิญหน้ากับอาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
     จากการศึกษาพบว่า การนำข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลมาใช้แก้ไขปัญหาตามสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย และความต้องการของผู้ป่วยและผู้ดูแล ทำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดการกับอาการต่าง ๆ ของโรคได้ ผู้ดูแลเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น พร้อมดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน

References

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. (2565). ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะสุดท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน(Home ward). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมควบคุมโรค. (2566). โรคความดันโลหิตสูง.https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=52

กองโรคไม่ติดต่อ. (2565). ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1308820220905025852.pdf

ทรงวุฒิ สารจันทึก. (2564). ผลการประเมินปญหาการใช้ยาและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการเยี่ยมบ้านแบบ INHOMESSS ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 7(2), 233-247.

ทิพวรรณ ถามา. (2563). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต (การล้างทางช่องท้อง) โดยวิธีปกติ. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.

บุษยมาศ แสงแพง. (2566). การพยาบาลผู้ป่วยโรคโรคเบาหวานที่มีภาวะโรคไตระยะสุดท้ายโรงพยาบาลหนองเรือ : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 653-660.

วรณัน ประสารอธิคม. (2561). แนวคิดการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Concept of home care). https://www.rama.mahidol.ac.th/um/sites/default/files/public/pdf.

ศศิธร ดวนพล, ธีรศักดิ์ พาจันทร์ และพิทยา ศรีเมือง. (2563). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข่าใหญ่ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 145-155.

ศิริลักษณ์ เมืองไทย และยุพาวดี ขันทบัลลัง. (2567). การใช้ชีวิตหลังการได้รับการรักษาโดยการล้างไตทางช่องท้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 18(2), 679-694.

สุธาวัลย์ สัญจรดี, พนิดา พวงไพบูลย์ และ นิสากร เห็มชนาน. (2565). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันด้วย 7 Aspects Model of Care. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 6(3), 1-18.

อรุณรัตน์ สู่หนองบัว และลำไพ สุวรรณสาร. (2565). การดูแลผู้ป่วยโรคโรคเบาหวาน: บทบาทพยาบาลโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารพยาบาลและสาธารณสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 1(1), 8-14.

อารี ศุขแจ้ง, พัชรา เกษมสุข และรินญา บุ้งทอง. (2565). ประสิทธิผลของการวางแผนจำหน่ายแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 37(1), 217-230.

American Diabetes Association. (2011). Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes care, 34(1), 62-69.

Kovesdy CP. (2022). Epidemiology of chronic kidney disease: an update 2022. Kidney Int Suppl, 12(1), 7-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

นนท์สกุล ก. (2024). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตวายเรื้อรังร่วมกับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ที่บ้าน : กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 335–343. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3410