การพยาบาลผู้ป่วยลำไส้ทะลุที่มีโรคร่วม ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียม: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ลำไส้ทะลุ, ผ่าตัดเปิดทวารเทียมบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา 2 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยลำไส้ทะลุมีโรคร่วม ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียมจำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลขอนแก่น วิธีดำเนินการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยลำไส้ทะลุ ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียมโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย การรักษา เวชระเบียน สัมภาษณ์ และประเมินภาวะสุขภาพการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์
ผลการศึกษา: การศึกษาทางการพยาบาล พบว่าในระยะก่อนผ่าตัดพบปัญหาที่เหมือนกันคือญาติและผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาวะโรคและการรักษาด้วยการผ่าตัดที่ได้รับ ในระยะวิกฤต ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัดเหมือนกัน ที่ต่างกันคือแต่ละกรณีศึกษามีโรคร่วมที่ต่างกัน ในกรณีศึกษาที่ 1 มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และหายใจหอบเหนื่อย มีภาวะโพแทสเซี่ยมต่ำ กรณีศึกษาที่ 2 เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน มีภาวะน้ำเกิน และมีภาวะพร่องออกซิเจน มีภาวะติดเชื้อในร่างกาย การพยาบาลที่สำคัญทั้ง 2 รายคือ การเตรียมความพร้อม ด้านร่างกาย และจิตใจให้กับผู้ป่วยและญาติ โดยให้ข้อมูลการรักษาและการผ่าตัดเกี่ยวกับทวารเทียม เพื่อรักษาและบรรเทาปัญหาเฉียบพลันที่กำลังคุกคามชีวิต และผู้ป่วยทุกรายเมื่อพ้นภาวะวิกฤติแล้วต้องได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลทวารเทียม การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากมีทวารเทียม การให้ความรู้ ฝึกทักษะผู้ป่วยและญาติในการดูแล และเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการตนเอง ผู้ป่วยทั้ง 2 รายไม่มีภาวะแทรกซ้อนจำหน่ายกลับบ้านได้ รวมระยะเวลาการดูแลกรณีศึกษารายที่ 1จำนวน 16 วัน กรณีศึกษารายที่ 2 จำนวน 35 วัน
References
จุฬาพร ประสังสิต และกาญจนา รุ่งแสงจันทร์. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีลำไส้และรูเปิดทางหน้าท้อง: ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.จำกัด. 2558.
ธีรนุช บุญพิพัฒนาพงศ์. ภาวะแทรกซ้อนของทวารเทียม. ในจันทร์ฉาย แซ่ตั้ง. คู่มือการดูแลบาดแผลและทวารเทียม. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์. 2551.
นัทธมน วุทธานนท์. (2554). การปฏิบัติการพยาบาลในคลินิกศัลยกรรม. เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติง.
ประทิน ไชยศรี. คู่มือการเตรียมผู้ป่วยเพื่อผ่าตัดเปิดช่องทวารใหม่ (colostomy). พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ดาราวรรณการพิมพ์. 2554.
วิภาวดี ว่องวรานนท์. ผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ไส้ตรงและทวารหนักที่มีทวารเทียมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้. [อินเทอร์เน็ ต]. มปท; c2560 [เข้ าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2566].เข้าถึงได้จาก: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/12975/1/
วุฒิชัย ธนาพงศธร และปริญญา อัครนุรักษ์กุล (บรรณาธิการ). (2554). ตำราพื้นฐานศัลยศาสตร์และโรคทางศัลยกรรม สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป. สมุทรปราการ: สินทวีกิจพริ้นติ้ง.
นภชาญ เอื้อประเสริฐ.Chulalongkornhematologyhandbook.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ; 2555. 82 – 87.
สมพร วรรณวงศ์. การดูแลทวารเทียมและรูเปิดปัสสาวะทางหน้าท้อง ในธีรนุช บุญพิพัฒนาพงศ์ และสมพร วรรณวงศ์. การดูแลบาดแผลและทวารเทียม. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์. 2553.
สุปาณี เสนาดิสัย, วรรณภา ประไพพานิช (บรรณาธิการ). (2560). การพยาบาลพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : จุดทอง. อุษาวดี อัศดรวิเศษ. (2555). สาระหลักทางการพยาบาลศัลยศาตร์ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอนพีเพลส จำกัด.
American Cancer Society. Colorectal cancerriskfactors[Internet].Atlanta,GA:ACS;2018 [cited2020Jan27].Availablefrom:https://www.cancer.org/cancer/colon-rectal- cancer/causes-risks-prevention/risk-factors.html