การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้านแบบมีส่วนร่วม โรงพยาบาลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อังคณา ศรีไสย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
  • เพ็ญพักร์ ทองศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย, การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้านแบบมีส่วนร่วม โรงพยาบาลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย จนท.รพ.สต ผู้นำชุมชน อสม. ในการทำ Focus group และผู้ป่วยระยะสุดท้าย 218 คนในการศึกษาเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวคำถามปลายเปิด Focus group เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบเก็บข้อมูลทั่วไป, แบบบันทึกการติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน, แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน (ADL), แบบประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วย (PPS), แบบประเมินความรุนแรงของความปวด (ESAS) สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบก่อนหลังด้วยสถิติ Paired t test
     ผลการศึกษา พบว่า จากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 218 คน ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 57.34 อายุอยู่ในช่วง 60-70 ปี อาชีพทำไร่ทำนา ร้อยละ 38.53 ประเภทผู้ป่วยระยะสุดท้ายส่วนมากเป็นโรคมะเร็งตับ ร้อยละ 32.57 การพัฒนารูปแบบประกอบด้วย 8 แนวทางสำคัญ ดังนี้ 1) การอบรมเพิ่มศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2) พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยให้ชัดเจนทันสมัย 3) การจัดการสิ่งแวดล้อมบ้านผู้ป่วย 4) การให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการการวางแผนการรักษา 5) การสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือที่บ้าน 6) การดูแลที่บ้านตามวิถีพุทธและธรรมเนียมอีสาน 7) การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยทีมสหวิชาชีพ 8) การส่งเสริมการอบรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่ามีค่าเฉลี่ยความรุนแรงของความปวดลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p <.05, t = 6.36

References

Stephen R, Claire M, Ernesto J, Richard H, James C, Barbara H, et al. (2020) Global atlas of palliative care. 2nd ed. London UK: World Health Organization and Worldwide Palliative Care Alliance.

กรมการแพทย์. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทาง การแพทย์) .นนทบุรี : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2563.

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลอุดรธาน, วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564,23(1), 80-90.

โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดำเนินงานผู้ป่วยระยะสุดท้าย. 2566.

ทัศนีย์ บุญอริยเทพ และ ธภัคนันท์ อินทราวุธ. ผลของโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านต่ออาการรบกวนผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยและภาวะเครียดของผู้ดูแล. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2566;31(1):99-113.

สุณัฏดา คเชนทร์ชัย และ มุจจรินทร์ อัศวพัฒน์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในผู้ป่วยนอก. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2564;17(3):27-36.

เพียงพิมพ์ ปัณระสี และ ภัทราบูลย์ นาคสู่สุข. การพัฒนารูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564;32(1):40-55.

สุยันต์ ลวงพิมาย. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้านแบบประคับประคองในผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลดอนจานจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารทางพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2566;3(1):44-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ศรีไสย อ. ., & ทองศรี เ. (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้านแบบมีส่วนร่วม โรงพยาบาลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 387–395. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3420