ผลของโปรแกรมการพยาบาลเชิงรุกต่อการควบคุมความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วชิรารัตน์ วรรณศิริ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • รณภูมิ สุรันนา ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • ชนิดา โอษคลัง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, การควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี, การพยาบาลเชิงรุก

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment Research) แบบสองกลุ่มวัดก่อน และหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลเชิงรุกต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ศึกษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันไม่ดี จำนวน 100 ราย วันที่ เมษายน 2566 – กันยายน 2566 แบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 50 ราย รวบรวมแบบสอบถาม 3 ชุด วิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบความแตกต่าง ระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน (independent t-test) และสถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (paired t-test)
     ผลการศึกษา : การเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต พบว่า หลังได้รับโปรแกรมร่วมกับการพยาบาลปกติ มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก 3.19+0.35 ( equation+ S.D.,P<0.0001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ การใช้ยาถูกต้อง 3.31+0.46 (P<0.0001) การจัดการความเครียด 3.14+0.57 (P<0.0001) การรับประทานอาหาร 3.13+0.73 (P<0.0001) การออกกำลังกาย 3.09+0.65 (P<0.0001) ค่าดัชนีมวลกายกลุ่มทดลอง BMI=25.05+3.77 Kg/m2(P=0.02) SBP=140.54+17.89 มิลลิเมตร (P<0.001) และ DBP=89.26+10.68 มิลลิเมตรปรอท (P<0.001) มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุม BMI=27.03+4.55 Kg/m2, SBP=149.65+19.54 มิลลิเมตรปรอท DBP=94.44+14.44 มิลลิเมตรปรอท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

References

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. 2562. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (Thai Hypertension Society) กรุงเทพฯ. หน้า 2 – 34

กลุ่มเทคโนโลยี ระบาดวิทยาและมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อ. 2564 ฐานข้อมูลผู้ป่วยในรายบุคคล หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. 2565. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ ปี 2565 รอบที่ 2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ (2566). ทะเบียนเวชระเบียนศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ .

วิชัย เอกพลากร และคณะ. 2564. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า 188-194

Wells-Federman, C.L.(1996). Awakening the nurse healer within. Holistic Nursing Practice, 10(2), 13-29.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2552). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย.กรุงเทพฯ: วิทยพัมน์ ;

ศิริลักษณ์ ช่วงมี ศึกษา. 2566. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ เขตพื้นที่โรงพยาบาล สทิงพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2566. 738 - 747

วรารัตน์ ทิพย์รัตน์และคณะ. 2566. การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพและการมีส่วนร่วม ของครอบครัว ในการจัดการระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ จังหวัดตรัง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566. 237-254

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

วรรณศิริ ว. ., สุรันนา ร. ., & โอษคลัง ช. (2024). ผลของโปรแกรมการพยาบาลเชิงรุกต่อการควบคุมความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 396–403. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3421