การพยาบาลผู้ป่วยจอประสาทตาหลุดลอกที่ได้รับการผ่าตัดน้ำวุ้นตา โรงพยาบาลขอนแก่น: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, โรคจอประสาทตาหลุดลอกชนิดมีรูรั่วหรือรอยฉีกขาดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยจอประสาทตาหลุดลอกที่ได้รับการผ่าตัดน้ำวุ้นตา กรณีศึกษา 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจักษุ โรงพยาบาลขอนแก่น โดยศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยจอประสาทตาหลุดลอกที่ได้รับการผ่าตัดน้ำวุ้นตา กรณีศึกษา 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยจอประสาทตาหลุดลอกที่ได้รับการผ่าตัดน้ำวุ้นตาเข้ารักษาในหอผู้ป่วยจักษุโรงพยาบาลขอนแก่น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย การรักษา เวชระเบียน สัมภาษณ์ และประเมินภาวะสุขภาพการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์แบ่งการพยาบาลออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการผ่าตัด ระยะหลัง ผ่าตัดวางแผนจำหน่ายและระยะจำหน่ายติดตามผู้ป่วยต่อเนื่อง
ผลการศึกษา: ผลการวินิจฉัยโรค Rhegmatogenous retinal detachment (RRD) right eye,branch retinal vein occlusion (Branch RVD) right eye, vitreous hemorrhage right eye (VHRE), senile cataract both eye (SC) เคยผ่าตัดต้อกระจก พบว่ามีภาวะจอตาข้างขวาหลุดลอกจากภาวะเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตันที่แขนงหลอดเลือดร่วมกับภาวะน้ำวุ้นตา เสื่อมและมีภาวะต้อกระจกตาทั้ง 2 ข้าง วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 Set OR for Pare plana vitrectomy with fluid air exchange with Endolaser with 14% C3F8 เนื่องจากมีการหลุดลอกซ้ำ เข้ารับการรักษาวันที่รับการรักษา 2 พฤศจิกายน 2566- 17 พฤศจิกายน 2566 วันนอน 13 วันพบข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลจำนวน 12 ข้อ
References
งานจัดการสารสนเทศ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น : (เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2567)
ทรงศรี รำพึงสุข. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยจอประสาทตาหลุดลอกที่ได้รับการผ่าตัด: กรณีศึกษา 2 รวารสารวิชาการโรงพยาบาลระยอง,20(37), 13-33.
ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ. (2563). บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจอประสาทตาลอก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 12(2), 189-201.
พิมพ์ลดา ชลสวัสดิ์. (2563). การดูแลผู้ป่วยจอตาลอกหลังได้รับการผ่าตัดชนิดฉีดแก๊สในลูกตาโดยการใช้ Control chart หรือการวิเคราะห์และปรับปรุงการดูแลโดยใช้ข้อมูลหน่วยงาน. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 5(3), 56-60.
วสินี ทองอินค าและบรรพศิริ ชัยลีย์. (2563).คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคจอตาลอกที่ได้รับการผ่าตัดจอตาร่วมกับการฉีดแก๊สหรือน ้ามันซิลิโคนเข้าลูกตา. กรุงเทพฯ:ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช.
สมใจ แสงสร้อย.(2562). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารส้านักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น,1(2),197-207
สุภาวดี ดวงลูกแก้ว. (2563).การพยาบาลผู้ป่วยจอประสาทตาหลุดลอกชนิดที่มีรูฉีกขาดโดยวิธีการผ่าตัดน้ำวุ้นตา ผ่าตัดหนุนจอประสาทตา ฉีดน้ำมันซิลิโคนเหลวและการใช้แสงเลเซอร์:กรณีศึกษา.ชัยภูมิเวชสาร,40(2), 100-114.
อัจฉรา แก้วน้ำเชื้อ. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา,6(4), 177-180.