ผลการใช้โปรแกรมนวดประคบเต้านมด้วยสมุนไพรไทยต่อระดับการไหลของน้ำนม ในมารดาหลังการผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
คำสำคัญ:
โปรแกรมนวดประคบเต้านมด้วยสมุนไพรไทย, กระตุ้นน้ำนม, มารดาหลังคลอดบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment Research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมนวดประคบเต้านมด้วยสมุนไพรไทยต่อระดับการไหลของน้ำนมในมารดาหลังการผ่าตัดคลอดโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง 64 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีสุ่มแบบบล็อกขนาด= 4 กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ได้รับความรู้และใช้โปรแกรมนวดประคบสมุนไพรเต้านมมารดาหลังคลอด จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ได้รับความรู้และการดูแลตามมาตรฐานเดิมจำนวน 32 คน เครื่องมือในการทดลองครั้งนี้ คือโปรแกรมนวดประคบเต้านมด้วยสมุนไพรไทย รวบรวมข้อมูลด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางคลินิก/การตั้งครรภ์ ข้อมูลด้านน้ำนมแม่ และแบบบันทึกคะแนนการไหลของน้ำนม ซึ่งวัดคะแนนการไหลของน้ำนมเป็น 5 ระดับ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2566 - เดือนกันยายน 2567 ข้อมูลส่วนบุคคลวิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การไหลของน้ำนมและเปรียบเทียบ โดยใช้สถิติ proportion test กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05
ผลการศึกษา พบว่าทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับระดับการไหลของน้ำนมส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่อายุ 30-35 ปี ร้อยละ 37.5 และ ร้อยละ 46.8 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 51.4 และ ร้อยละ 57.1 การตั้งครรภ์ที่ 1 ร้อยละ 56.3 และ ร้อยละ 43.8 นวดเต้านมด้วยตัวเองก่อนการทดลอง 1-3 ครั้ง/วัน ร้อยละ 68.75 และ ร้อยละ 31.25 ตามลำดับ ระดับการไหลของน้ำนมแรกรับส่วนใหญ่มีคะแนนระดับ 1 คือน้ำนมไม่ไหล ร้อยละ 40.6 และ ร้อยละ 50 ตามลำดับ หลังการได้รับโปรแกรมนวดประคบเต้านมด้วยสมุนไพรไทยและการดูแลตามมาตรฐานเดิม พบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนการไหลของระดับน้ำนมระดับ 5 น้ำนมไหลดี ร้อยละ 56.3 และ ร้อยละ15.6 ตามลำดับ โดยกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม ร้อยละ 40 (95% CI : 0.194, 0.620, p-value = 0.007)
References
องค์การอนามัยโลก. (2564). Increasingcommitment to breastfeeding through funding and improve policies and programs. สืบค้นจาก https://app.who.int/iris/bitstream/handle/ 10665/326049/WHO-NMH-NHD-19.22-eng.pdf?sequnce=1&isAllowed=y
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย 2566. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565, รายงาน ผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย.
กนกพร เอื้ออารีย์กุล, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. ผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อปริมาณน้ำนมและ ระยะเวลาที่มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารกในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผ่าตัดคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2561;36(3):71–82.
อานิตย์ อ๋องสกุล. ผลของการใช้นวัตกรรม Donut Heat Gel ต่อระยะเวลาการหลั่งน้ำนมครั้งแรกในมารดา หลังคลอดหอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลพัทลุง The Effectiveness Donut Hot Gel Compress on First-Time Lactation after Birth in Postpartum Women. วารสารวิชาการ. 2564;1(1):1–15.
เสาวลักษณ์ ค้าของ และมยุรี นิรัตธราดร. (2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นในชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 47(1), 31-43.
อมรินทร์ ชะเนติยัง. ผลการนวดและประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารหมอยาไทยวิจัย. 2018;4(1):41–52.
เบญจวรรณ ละหุการ, มลิวัลย์ รัตยา, ทัศณีย์ หนูนารถ, นุสรา มาลาศร, กาญจนีย์ รัตนถาวร. ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนมในมารดาผ่าตัดคลอด. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2564;6(8):100–11.
มารียา มะแซ, ศศิกานต์ กาละ, วรางคณา ชัชเวช. (2562). ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนมในมารดาครรภ์แรก Effect of Self-Breast Massage Program on Milk Ejection of First-Time Mothers. วารสารมหาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 11(3), 3-11.
อนรรฆอร จิตต์เจริญธรรม, เพ็ญศิริ จันทร์แอ, ธีระ ผิวเงิน, ขนิษฐา ทุมา, จรินยา ขุนทะวาด, ภานิชา พงษ์นราทร, จุฑาทิพย์ ศิริศิลป์. (2565). ผลของการใช้โปรแกรมกระตุ้นการเพิ่มน้ำนมวิถีไทยต่อปริมาณเเละระยะเวลา การไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด. วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก, 22(2), 269-279.
ศราวุฒิ แพะขุนทด, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ, วินัย สยอวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม. ผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันต่อระบบประสาทอัตโนมัติ และอารมณ์ความรู้สึก. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2022;9(1):257–69.
สุธัญญา พรหมสมบูรณ์, อนงค์นาฏ โสภณางกูร, ประพฤติ พรหมสมบูรณ, สุชาดา กรเพชรปาณ. ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร 5 ชนิด ต่อการผ่อนคลายความเครียด. วารสารวิจัย. 2560;10(2):68–75.
ศศิกานต์ กาละ. (2561). การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: บทบาทพยาบาล. สงขลา: ชาญเมืองการพิมพ์.