ผลของโปรแกรมการสร้างความรอบรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • นิธินาถ ทุนนาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

โปรแกรม , ความรอบรู้ , โรคไข้เลือดออก , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างความรอบรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มทดลอง 102 คน กลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 109 คน รวม 211 คน กลุ่มทดลอง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเปรียบเทียบ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
     ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ ความเข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพ การประเมินข้อมูลด้านสุขภาพ การใช้ข้อมูลด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

สมศักดิ์, และคณะ. (2562). การฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อการควบคุมโรคไข้เลือดออก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(3), 210-225.

กาญจนา, และคณะ. (2563). โปรแกรมการสร้างความรอบรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน. วารสารวิจัยสุขภาพ, 35(2), 145-160.

วิจิตร, และคณะ. (2561). การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่เน้นการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารการแพทย์ชุมชน, 33(1), 123-138.

พรทิพย์, และคณะ. (2564). การสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในท้องถิ่น. วารสารสาธารณสุขและเวชศาสตร์เขตร้อน, 29(4), 254-269.

สมชาย, และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน. วารสารการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์, 40(2), 178-195.

นพพร, และคณะ. (2566). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการควบคุมโรคไข้เลือดออก. วารสารเทคโนโลยีและสุขภาพ, 22(1), 99-115.

Lemeshow, S. et al. Adequacy of Sample Size in Health Studies. Chichester: John Wiley & Sons. 1990.

ธนกร จันทค้ำพงศ์. (2564). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจัดการ POCCC ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำครอบครัวเพื่อป้องกันไข้เลือดออก.วารสารวิชาการสาธารณสุข ฉบับที่ 1 พฤษภาคม-มิถุนายน 2021.

เกศรินทร์ รู้คงประเสริฐ (2565) ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติตามบทบาทเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เกติณี วงศ์สุบิน และคณะ. (2559). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลโบงน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนข์การศึกษาแพทขศาสตร์คลินิก โรงพาบาลพระปกเกถ้ำา ปีที่ 33 ฉบับที่3ก.ค.- ก.ย. 2559.

อนุกูล พลวัชรินทร์. (2566). โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กันยายน-รันวาคม 2566.

ปรรณพัชร์ วงศ์ธีราพงษ์. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่สวนมะม่วง ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์เสนอบัณฑิตวิทยาลัย หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ทุนนาน น. . (2024). ผลของโปรแกรมการสร้างความรอบรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 744–754. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3428