ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ประคองศิลป์ โพธะเลศ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีอุดม

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, แรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ใช้รูปแบบการวัดผลก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในตำบลตระกาจที่มีผลการตรวจเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสไม่ปลอดภัย จำนวน 40 คน เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพและแบบสอบถามที่ประเมินความรู้ การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความคาดหวังในประสิทธิผล ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-test
     ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยในทุกด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นจาก 6.40 เป็น 8.15 คะแนน การรับรู้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นจาก 1.92 เป็น 2.26 คะแนน การรับรู้โอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นจาก 1.99 เป็น 2.52 คะแนน ความคาดหวังในประสิทธิผลเพิ่มขึ้นจาก 2.05 เป็น 2.71 คะแนน ความคาดหวังในความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้นจาก 1.94 เป็น 2.35 คะแนน และการปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายเพิ่มขึ้นจาก 1.99 เป็น 2.61 คะแนน

References

กรมควบคุมโรค, กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. การศึกษาผลกระทบจากการใช้สารเคมีอันตรายที่ใช้ในภาคเกษตร (ไกลโฟเสต) และ ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาฟื้นฟูสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย จากการใช้สารเคมีทางการเกษตร. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2565.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วง. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2566. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วง; 2566.

พาลาภ สิงหเสนี. พิษของยาฆ่าแมลงต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วง. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2566. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วง; 2566.

Dunn S, Rogers RW. Protection motivation theory and preventive health: Beyond the health belief model. Health Educ Res. 1986;1(3):153-61.

ธนาศักดิ์ เปี่ยมสิน. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ตำบลไพรนกยูง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1986.

Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1970.

นาตยา ดวงประทุม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2565;9(1):13-20.

กนกวรรณ วรชินา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(3):252-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

โพธะเลศ ป. (2024). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 755–762. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3431