รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุในระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สุราษฎร์ บุญปัญญา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ , การพัฒนารูปแบบ , การส่งเสริมสุขภาพจิต

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตและผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ในชุมชนระดับผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ กระบวนการวิจัยมี 3 ระยะ ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการวิจัย ศึกษาเชิงคุณภาพข้อมูลพื้นฐานการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ และนำข้อมูลมาพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุในระยะที่ 2 และนำรูปแบบที่พัฒนาไปทดลองใช้ในระยะที่ 3 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงมี 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มตัวอย่างในการจัดเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คนและ (2) ผู้สูงอายุทดลองใช้รูปแบบจำนวน 100 คน เข้าร่วมกระบวนการวิจัยที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดขาคีม อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2566-ตุลาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ 4 ขั้นตอน คือ 1) การดูแลสุขภาพกายและจิตอย่างสม่ำเสมอ ด้วยบุคลากรในครอบครัว 2) การสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้สูงอายุ 3) การมีส่วนร่วมกิจกรรมตามประเพณี และ 4) การสร้างคุณค่า และศักดิ์ศรีแก่ผู้สูงอายุ หลังการใช้รูปแบบรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ในชุมชนระดับผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ พบว่า ค่าความแตกต่างเฉลี่ยการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การประเมินความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ผู้สูงอายุมีความคิดเห็นต่อรูปการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก และการคัดกรองภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุผู้สูงอายุไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 93 และมีความวิตกกังวลเล็กน้อย ร้อยละ 71

References

World Health Organization. Ageing and Health Geneva; Switzerland: WHO; 2021 [Available from: https://www.who.int/news-room/factsheets/detail/ageing-and-health.

Michel JP, Leonardi M, Martin M, Prina M. WHO's report for the decade of healthy ageing 2021-30 sets the stage for globally comparable data on healthy ageing. Lancet Healthy Longev. 2021;2(3):e121-e2.

นรินทิพย์ ฤทธิ์ฐิติ. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2564;1(3):1-20.

World Health Organization. Mental Health of older adult Geneva, Switzerland: WHO; 2017 [cited 2017. Available from: http://www.who.int/news-room/factsheets/detail/mental-health-of-olderadults.

วิลาวัณย์ ชาดา, ชัยกฤต ยกพลชนชัย, เพ็ญมาศ สุคนธจิตต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2567;10(2):84-97.

นันทิดา ทองอ้ม. การศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2565;37(2):311-20.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดขาคีม. สรุปผลการดำเนินด้านสุขภาพรอบที่ 2/2566. สุรินทร์: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดขาคีม สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตนบุรี; 2566.

สาธิต สิงห์ชัย. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย. 2563;16(3):188-97.

สุทธิดา พงษ์พันธ์งาม, แสงเดือน พรมแก้วงาม, สุทธิลักษณ์ จันทะวัง, อัมภิชา นาไวย์, วราภรณ์ ยศทวี. คุณสมบัติในการวัดทางจิตของแบบประเมินภาวะวิตกกังวลในผู้สูงอายุฉบับสั้นภาษาไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้. 2564;8(3):61-71.

กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง (Train the Brain Forum Thailand). แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale: TGDS). สารศิริราช 2537;46(1):1-9.

สุดา วงศ์สวัสดิ์, ดุษฎี โยเหลา, นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. การพัฒนารูปแบบการทำงานส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงของทีมสุขภาพในชุมชน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้. 2562;6(2):229-43.

วิรมณ กาสีวงศ์, สุประวีณ์ คงธนชโยพิทย์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุโดยครอบครัว. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2565;23(44):23-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

บุญปัญญา ส. . (2024). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุในระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 773–782. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3433