ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการขายอาหารแผงลอย ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, สุขาภิบาลอาหาร, ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ความรู้สุขาภิบาลอาหาร ทัศนคติต่อพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร การรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร ความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร และพฤติกรรมการสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการขายอาหารแผงลอย ระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และเพื่อประเมินร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร กลุ่มตัวอย่าง 60 คน คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการทดสอบคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และแบบประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วย สถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้สุขาภิบาลอาหาร ทัศนคติต่อพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร การรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร ความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร และพฤติกรรมการสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการขายอาหารแผงลอยสูงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2565). สรุปรายงานที่สำคัญทางระบาดวิทยา [อินเตอร์เนต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 66]. เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1360120221220031224.pdf
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2566). สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษในประเทศไทย [อินเตอร์เนต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 66]. เข้าถึงจาก:https://wesr-doe.moph.go.th/wesr_new/file/y66/H66172023042320230429.pdf
สำนักงานเขตธนบุรี.(2566). สถิติประชากรเขตธนบุรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตธนบุรี
สถิติสุขภาพคนไทย.(2564). อัตราป่วยจากโรคอุจาระร่วงเฉียบพลันเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ปี 2564 [อินเตอร์เนต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 30 มิ.ย. 66]. เข้าถึงจาก:https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php?ma=4&pf=01101001&tp=202
สำนักงานเทศกิจกรุงเทพมหานคร.(2565). ตรวจจุดผ่อนผันทำการค้าย่านคลองสานและธนบุรี [อินเตอร์เนต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 66]. เข้าถึงจาก: https://webportal.bangkok.go.th/citylaw/page/sub/3651/1/2/info/294207/คู่มือผู้ใช้งานระบบหลังบ้าน_Bangkok-PORTAL.pdf
สำนักงานเขตธนบุรี.(2566). จำนวนผู้ประกอบการขายอาหารแผงลอยในเขตธนบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตธนบุรี
Burns, N. & Grove, S. K. The practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence (6th ed.). St. Louis, Missouri: Saunders Elsevier; 2009
Ajzen, I.(1991). The Theory of Planned Behavior. ORGANIZATIONAL BEHAVIOR AND HUMAN DECISION PROCESSES. 50(2):179-211.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศรีอนันการพิมพ์.
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2556). คู่มือข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร สำหรับแผงลอยจำหน่ายอาหาร. นนทบุรี; โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อิสริยา ชื่นอักษร.(2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการบริโภคอาหารบรรจุโฟม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.