ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • นฤมล จันทร์สุข อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชวนนท์ จันทร์สุข อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก Corresponding author

คำสำคัญ:

การออกกำลังกาย , ภูมิปัญญาท้องถิ่น , ความสามารถในการทรงตัว , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดถูกสุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน และได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วยการรำรำมะนา จังหวัดชัยนาทและการรำไม้พลอง ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและการทดสอบการทรงตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ไคสแคว์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
     ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทรงตัวดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) หลังจากได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทรงตัวดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. คู่มือการปฏิบัติงานภาคสนาม โครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2567 [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567]. เข้าถึงจาก: https://www.nso. go.th/nsoweb/storage/contents_detail/2024/20240405104651_11728.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท. สถิติผู้สูงอายุ. ชัยนาท: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท; 2566.

สมลักษณ์ เพียรมานะกิจ, พัชรินทร์ พุทธรักษา, สุพิน สาริกา และวิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. ความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุในชุมชนอำเภออัมพวา. วารสารกายภาพบำบัด 2560; 39: 52-69.

รัญชนา หน่อคำ, ศิริรัตน์ ปานอุทัย และทศพร คำผลศิริ. ผลของการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร 2559; 43: 58-68.

ณัฐริกานต์ ศักดิ์สนิท และสุรสา โค้งประเสริฐ. ผลของการฝึกรำไทยร่วมกับการใส่น้ำหนักที่ข้อเท้าที่มีต่อความสามารถในการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ 2564; 22: 384-396.

มยุรี ถนอมสุข. ผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายแบบผสมผสานต่อระดับกิจกรรมทางกายและสมรรถภาพการทําหน้าที่ทางกายผู้สูงอายุ. วารสารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ 2558; 43: 277-289.

ทิติภา ศรีสมัย, เสาวนีย์ นาคมะเริง, พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, ภารดี เอื้อวิชญาแพทย์, กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์, และคนอื่นๆ. ผลของการออกกำลังกายด้วยรำมวยโบราณประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุชาวไท: การศึกษานำร่อง. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2560; 61: 745-755.

คณิน ประยูรเกียรติ และก้องสยาม ลับไพรี. การพัฒนาวิธีการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 2563; 12: 95-109.

บุปผาชาติ อุปถัมภ์นรากร. การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับรำรำมะนา จังหวัดชัยนาท. วารสารจันทรเกษมสาร 2554; 17: 119-126.

จรัสศรี ศรีโภคา และวรศิษฎ์ ศรีบุรินทร์. ผลของการออกกำลังกายด้วยไม้พลองและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มี ผลต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลปากชม จังหวัดเลย. วารสารคณะพลศึกษา 2565; 25: 56-67.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: บริษัท ณจันตา ครีเอชั่น จำกัด; 2564.

ชัยพัฒน์ ศรีรักษา, เสาวนีย์ นาคมะเริง, พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์, วัณทนา ศิริธราธิวัตร,กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์ และทวีศักดิ์ จรรยาเจริญ. ผลของการรำเซิ้งอีสานต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุชาวไทย: การศึกษานำร่อง.จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2560; 62: 211-222.

ญาภัทร นิยมสัตย์, วิจิตรา นวนันทวงศ์, พิชญาณัฏฐ์ แก้วอำไพ, ปิยนุช ภิญโญ, มลธิชา คงชนะ, พัชรี ศิริวงศ์, และคนอื่นๆ. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรำวงคองก้าต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565; 16: 437-453.

Riebe D, Ehrman JK, Liguori G, Magal M, American College of Sports Medicine, editors. ACSM's guidelines for exercise testing and prescription, 10th ed. Philadelphia, PA: Lippincot Williams & Wilkins; 2017.

ศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. การออกกำลังกายลดเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้น เมื่อ 22 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/knowledge-article/exercise- reduces-the-risk-of-falls-in-the-elderly/

นภสร นีละไพจิตร, เจริญ กระบวนรัตน์และบุญเลิศ อุทยานิก. การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยนาฏศิลป์พื้นบ้านไทยเพื่อพัฒนาการทรงตัวในผู้สูงอายุ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ 2566; 49: 99-109

เพ็ญพักตร์ หนูผุด. ผลของการรำไทยที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

ปนดา เตชทรัพย์อมร, ปริญญา เลิศสินไทย และสิริลักษณ์ ใยดี. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการออก กำลังกายด้วยการรำไม้พลองป้าบุญมีแบบประยุกต์กับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านต่อการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมในชุมชน. [รายงานการวิจัย]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

จันทร์สุข น., & จันทร์สุข ช. (2024). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 792–800. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3435