การพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยทีมพี่เลี้ยง (Coaching) จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย เสี้ยวทอง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ , กลไก, การบริหารจัดการ , กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยทีมพี่เลี้ยง (Coaching) จังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการประกอบด้วย กลุ่มพี่เลี้ยงกองทุน คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น กลุ่มผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลุกประกันสุขภาพท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล และกลุ่มประชาชน รวม 279 คน ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเครือข่ายเพื่อพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยการประยุกต์ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ประกอบด้วยการวางแผน (Planning: P) การปฏิบัติการ (Action: A) การสังเกตการณ์ (Observation: O) และการสะท้อนกลับ (Reflection: R) จำนวน 2 วงรอบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 30 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ รวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบและกลไกการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นโดยทีมพี่เลี้ยง จังหวัดยโสธร คือ EPBAM Model ประกอบด้วย 1) Enhancing Access to Healthcare Services: การเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพ 2) Promotion of Public Participation: การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) Building Knowledge and Skills for the Committee: สร้างความรู้และทักษะให้กับคณะกรรมการ 4) Application of Technology: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5) Monitoring and Evaluation: การติดตามประเมินผล

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). บทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2558). รายงานประจำปี 2558: การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

Park, Y. H., et al. (2015). Citizen participation in local public health decision-making in Korea. Journal of Public Health Policy, 36(4), 567-580.

สนธยา บัวผาย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น. วารสารการบริหารจัดการสุขภาพ, 5(2), 45-55.

ณิชนันท์ งามน้อย. (2559). การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในจังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยทางสังคมศาสตร์, 8(3), 62-78.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed.). Deakin University Press.

ขนิษฐานันทบุตร, สุพรรณี ขันทอง & คณะ. (2562). การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น: รูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน, 13(2), 55-67.

คูนท์ซ, คริสเตียน, & เวียห์ริช, ปีเตอร์. (2009). การจัดการเพื่อการพัฒนา: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจพร สุทธาวาสน์. (2559). แนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมในเขตอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10, 45-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

เสี้ยวทอง ช. . (2024). การพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยทีมพี่เลี้ยง (Coaching) จังหวัดยโสธร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 801–812. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3437