การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ไส้ติ่งอักเสบ, ไส้ติ่งอักเสบแตก, การผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมงบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในโปรแกรม Atiz EMR ของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นไส้ติ่งอักเสบและได้รับการผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง โดยเข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 จำนวน 188 ราย แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มไส้ติ่งอักเสบไม่แตก จำนวน 151 ราย และกลุ่มไส้ติ่งอักเสบแตก จำนวน 37 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลแบบตัวแปรเดียว สถิติถดถอยโลจิสติกแบบพหุ ที่ระดับนัยสำคัญ p-value < 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดไส้ติ่งอักเสบแตก ได้แก่ อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38 องศาเซลเซียส (OR 0.027, 95% CI 0.079 - 0.652) ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการปวดท้องจนถึงโรงพยาบาลมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ชั่วโมง โดยพบความสัมพันธ์ของปัจจัยระยะเวลาตั้งแต่มีอาการปวดท้องจนถึงโรงพยาบาลมากกว่า 24 ชั่วโมง (OR 0.112, 95% CI 0.027 - 0.465) และระยะเวลาตั้งแต่มีอาการปวดท้องจนถึงโรงพยาบาลในช่วง 20 ถึง 24 ชั่วโมง (OR 0.078, 95% CI 0.008 - 0.721)
References
ปรียาภรณ์ เสนะวัตและกิจจา เจียรวัฒนกนก. คะแนนพยากรณ์ภาวะไส้ติ่งแตกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันโดยใช้อาการทางคลินิก. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2562; 10(2): 16 - 30.
Lima AP., Vieira FJ. Clinical-epidemiological profile of acute appendicitis: retrospective analysis of 638 cases. Col. Bras. Cir 2016; 43(4): 248 - 253.
Kalaycı T., Balcı S. Factors Affecting Morbidity in Appendectomy: A Single Center Experience. Turk J Colorectal 202; 132: 41 - 47.
Howell EC., Dubina ED., Lee SL. Perforation risk in pediatric appendicitis: assessment and management. Pediatric Health, Medicine and Therapeutics 2018; 9: 135 –145.
Dogra BB, Acute appendicitis: Common surgical emergency. Medical Journal of Dr. D.Y. Patil University 2014; 7(6): 749 - 752.
งานพัฒนาระบบคลังข้อมูล สำนักบริหารสารสนเทศการประกัน. ชุดข้อมูลอัตราป่วยตาย (Fatality rate) ด้วยโรคไส้ติ่งอักเสบ สิทธิ UC ของโรงพยาบาลที่ให้บริการ ปี 2560 – 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://data.go.th/en/dataset/dataset- pp_36_05
Prachanukool T, Yuksen C., Tienpratarn W., Savatmongkorngul, S., Tangkulpanich P., Jenpanitpong C…, and Nuanprom P. Clinical Prediction Score for Ruptured Appendicitis in ED. [Internet]. 2021 [cited 2024 April 10]. Available from: https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC7981174/pdf/EMI2021-6947952.pdf
Tantarattanapong S. Risk factors associated with perforated acute appendicitis in geriatric emergency patients. Open Access Emergency Medicine 2018; 10: 129 –134.
Sagir IH. Risk factors for perforation in acute appendicitis. Al-Qadisiah Medical Journal 2015; 11(1): 35 - 40.
อดุลกฤษณ์ นาต๊ะ. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดไส้ติ่งแตกในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่ง โรงพยาบาลแม่ระมาด จังหวัดตาก. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึง จาก: http://www.tako.moph.go.th/
ปาณัสม์ ศรีอรนันต์. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยสูงอายุของโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารการแพทย์ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563; 35(1): 55 – 66.
ประวิทย์ พัฒนสกาญจน์กูล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับไส้ติ่งอักเสบแตก: การศึกษาย้อนหลังในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง. วารสารโรงพยาบาลอำนาจเจริญ 2562: 1397-1428.
ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์. ศัลยศาสตร์ปริทัศน์; วารสารสมาคมศัลยแพทย์ทั่วไปแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2566; (1) : 1-3.
ทีมนำพัฒนาคุณภาพทางคลินิกสาขาศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า (2564, 2565, 2566).รายงานตัวชี้วัดทีมนำทางคลินิกสาขาศัลยกรรม.
Sirikurnpiboon S., and Amornpornchareon S. Factors Associated with Perforated Appendicitis in Elderly Patients in a Tertiary Care Hospital. [Internet]. 2015 [cited 2024 April 10]. Available from: https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC4561309/pdf/SRP2015-847681.pdf
ไพจิตร อธิไภริน. ปัจจัยทำนายทางคลินิกต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2022; 6(1): 92 - 101.
Ann Pietrangelo A. Emergency Signs and Symptoms of Appendicitis. [Internet]. 2024 [cited 2024 April 10]. Available from: https://www.healthline.com/health/digestive-health/appendicitis-emergency-symptoms#symptoms