ผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลนามน
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ตั้งแต่ปี 2566 ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลนามน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) มากกว่าหรือเท่ากับ 7 % ในช่วงเดือน มกราคม 2567 ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนมิถุนายน 2567 ถึงเดือนสิงหาคม 2567 ระยะเวลา 12 สัปดาห์ จำนวน 42 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) ตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลผู้ป่วย แบบวัดความรู้ การส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ paired samples t - test
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาของรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฯ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ ก่อนมีความตั้งใจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สาธิตและฝึกทักษะ นำสู่การปฏิบัติการ และการประเมินผลพฤติกรรมคงที่ต่อเนื่อง ผลการจัดกิจกรรม มีดังนี้ 1) ผู้ป่วยมีความรู้เพิ่มขึ้น 2) พฤติกรรมสุขภาพที่ปฏิบัติได้ดี และ 3) มีระบบติดตามประเมินผลแบบบูรณาการภาวะสุขภาพผู้ป่วย พบว่า หลังพัฒนาดีขึ้น ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
References
กรมควบคุมโรค. เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำให้เสียชีวิตสูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th
บดินทร์ จักรแก้ว. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเขตกึ่งเมืองของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2565; 18(1): 16-30.
จิตติพร ศรีษะเกตุ, พรพิมล ชัยสา, อัศนี วันชัย, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, วิริยา โพธิ์ขวางยุสท์. แนวทางการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 11(2): 156 - 70.
กาญจนา ปัญญาเพ็ช, นิภา มหารัชพงศ์, ยุวดี รอดจากภัย. ผลของรูปแบบการดูแลตนเอง ตามแนวคิดการดูแลสุขภาพตนเองและการกํากับตนเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2565; 8(2): 105 - 18
จักรพงษ์ แผ่นทอง. KR-20 หาค่าได้จาก Microsoft Excel. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://krujakkrapong.com/kr-20
วรรณี จิวสืบพงษ์, กฤษฎา เหล็กเพชร, จันทิมา นวะมะวัฒน์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อ ความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและ พัฒนาระบบสุขภาพ. 2022; 15(3): 30-43.
ธัญญลักษณ์ แสนบุดดา, สุดาพร ลือนาม, สุภาวิณี ลาดหนองขุ่น, กําทร ดานา. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: ช่วงมาตรการผ่อนคลายโควิด-19. วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. 2023; 1(1): 531-31
ชาตรี แมตสี่, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในจังหวัดแพร่. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2564; 13(1): 238-50
อุมากร ใจยั่งยืน, สุภาภรณ์ วรอรุณ, สาวิตรี ศิริผลวุฒิชัย. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2564; 35(2): 94-108.
สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์, อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์. พฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2018; 11(1): 32-49.
Prochaska JO, Velicer WF. The transtheoretical model of health behavior change. American journal of health promotion 1997; 12(1): 38-48.
นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, ธีรพร สถิรอังกูร, ศิริมา ลีละวงศ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารกองการพยาบาล. 2560 ;44(2): 135 - 41.
Pender NJ, Murdaugh CL, Parson MA. Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. Upper Saddle River. N.J.: Prentia Hall, 2002.
Likert R. "The Method of Constructing an Attitude Scale," Reading in Attitude Theory and Measurement. edited by Martin Fishbein. New York: John Wiley & Son, 1967.
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby, 2001.
จิราพร ศรีพิบูลยบัติ, ทมาภรณ์ สุขสวรรค์, ธีริศา สินาคม. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ต่อค่าระดับน้ำตาลและน้ำตาลสะสมของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารการ พยาบาลและการศึกษา 2563; 13(2): 47-60.
สลิดา รันนันท์, พาพร เหล่าสีนาท. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562; 16(3): 138-48.
ยุพดี ยิ่งคําแหง. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน เทศบาลตำบลเสลภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 14(2): 71-78.
วรางคณา บุตรศรี, รัตนา บุญพา, ชาญณรงค์ สิงห์บรรณ. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดไม่ได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2564; 18(1): 13-25.
อุบลรัตน์ รัตนอุไร, ประภาส สงบุตร. ผลของโปรแกรมจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28: 146-51. 18. Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc., 1977.
ปานชีวัน แลบุญมา, วัชรพงษ์ บุญจูบุตร. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย โรคเบาหวาน ตำบลสมัย อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2564; 8(2): 87-102.