การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ แฝงสมศรี โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
  • จารุณี บุญหลาย วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กำทร ดานา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก Corresponding author: Kamthorn Dana, Email: kamthorn@smnc.ac.th
  • อนุชา ไทยวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต, การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก, การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินสถานการณ์การเลี้ยงดูของครอบครัวและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี 2) การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต และ 3) การประเมินผลการใช้แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ดำเนินการระหว่าง ตุลาคม 2563 – มิถุนายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ McNemar Chi-square test
     ผลการศึกษาสถานการณ์ด้านการดูแลเด็กและครอบครัว พบว่า ไม่มีแนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว หญิงตั้งครรภ์ขาดการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และครอบครัวไม่มีการเตรียมความพร้อม มองว่าการที่เด็กมีพัฒนาการล่าช้าคือการแสดงออกที่สังเกตได้จากความผิดปกติทางร่างกายภายนอกเท่านั้น และแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต ประกอบด้วย (1) การส่งเสริมบทบาทของครอบครัวโดยใช้แนวคิดครอบครัวเป็นฐาน (2) การมีทีมพัฒนาพัฒนาเด็กละครอบครัว (Child and family team) (3) กิจกรรม 4 มหัศจรรย์ คือ การประสานธรรมะกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การสร้างแรงบันดาลใจในการเลี้ยงลูก การพัฒนาทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงลูก กลวิธีพ่อพระ-แม่ฮัก และ (4) การสร้างแรงบัลดาลใจต่อเนื่องผ่านกิจกรรมการกระบวนการพยาบาลครอบครัวและการเยี่ยมบ้าน หลังดำเนินกิจกรรมพบมีการดูแลสุขภาวะของหญิงตั้งครรภ์ที่ดีขึ้นและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวพ่อแม่หรือผู้ปกครองดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และจากการติดตามเด็กพบที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

References

สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. (2554). คู่มือการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5 ปี สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ผู้ดูแลเด็กและอาสาสมัครและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์.

Beighley JS. Matson JL. (2013). Developmental Milestones. Encyclopedia of Autism Spectrum Disorders, pp 894-895

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ทบทวนสถานการณ์พัฒนาการเด็กไทยปี. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก https://nich.anamai.moph.go.th/th/general-of-50/204370

แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ. (2559). การกระตุ้นพัฒนาการเด็กล่าช้าโดยครอบครัวมีส่วนร่วม. สถาบันแห่งชาติเพื่อเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปฐม นวลคา. (2559). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 12 (1), 36-45.

ศุภมาส จิรกอบสกุล. (2559). ทักษะทางภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการอ่านนิทานร่วมกัน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Jacobson SW., Frye KF. Effect of maternal social support on attachment: experimental evidence. Child Development 1991, 62, 572-82.

ณิชาณี พันธุ์งาม. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในชุมชนจังหวัดหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 11(25), 5-20.

พิมพาภรณ์ กลิ่นกลั่น. (2561). การพยาบาลเด็กเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ. เชียงใหม่, สมาร์ทโคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส.

วิริยาภรณ์ สุวัฒนสวัสดิ์, กนกวรรณ ศิริพรรณ, กัลยา ศรีมหันต์. (2563). วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี, 3(2), 121-132.

สมัย ศิริทองถาวร. (2561). การพัฒนาคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(1), 3-12.

อาริสรา ทองเหม, และประพิมพ์ใจ เปี่ยมคุ้ม. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กออทิสติกที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 6(2), 3-12.

มนัสมีน เจะโนะ, และรอฮานิ เจะอาแซ. (2562). ผลของโปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อพัฒนาการของเด็กอายุ 2-5 ปี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(2), 80-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

แฝงสมศรี ส., บุญหลาย จ. ., ดานา ก. ., & ไทยวงษ์ อ. . (2024). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 507–516. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3441