การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกแบบไร้รอยต่อ สำหรับผู้รับบริการที่เข้ารับการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางทรวงอก ด้วย 4 กระบวนการหลัก 30 กิจกรรม ศูนย์หัวใจ กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางทรวงอก, คลินิกแบบไร้รอยต่อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกแบบไร้รอยต่อสำหรับผู้รับบริการที่เข้ารับการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางทรวงอก โดยทำการศึกษาช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2566 เป็นระยะ 9 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพหน่วยศูนย์หัวใจ จำนวน 3 คน ผู้รับบริการที่ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางทรวงอก จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบเก็บข้อมูลทั่วไป 2) แบบติดตามการปฏิบัติตามแนวทาง 3) แบบประเมินความพึงพอใจแนวปฏิบัติ 4) แบบเก็บข้อมูลทางการแพทย์ 5) แบบสนทนากลุ่มเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบก่อนหลังด้วยสถิติ paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างบุคลากร ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.67 ช่วงอายุส่วนมาก 31-40 ปี ร้อยละ 66.67 (Mean ± SD = 32.14 ± 4.41 ปี) ประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ TTE ส่วนมาก 1-5 ปี ร้อยละ 66.67 การพัฒนาแนวปฏิบัติประกอบด้วย ด้วย 4 กระบวนการหลัก 30 กิจกรรม ได้แก่ การผลิตสื่อให้หลากหลายใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย การส่งเสริมความรู้เรื่องการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางทรวงอก การประยุกต์ line กลุ่ม การจัดทำ QR code VDO สอน Echo เพื่อให้พยาบาลง่ายในการเปิดให้ผู้ป่วยดูแนวปฏิบัติสามารถลดอุบัติการณ์ ข้อร้องเรียน เพิ่มความพึงพอใจ ทำให้เกิดแนวปฏิบัติที่เหมาะกับบริบทของโรงพยาบาลลำพูน ระดับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ ระดับความพึงพอใจแนวปฏิบัติจากกทารทดสอบ พบว่าหลังการใช้โปรแกรมค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.61, 3.30)
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2560 - 2579 นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ. สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease (CAD) ปี พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง พ.ศ. 2564. สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน์; 2564.
กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี. สถิติผู้ป่วยผ่าตัดแผนกหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก ประจำปี 2565. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2566. กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี.
จีรนช สมโชค, ศรัญญา จุฬารี, จันทร์ทิรา เจียรณัย. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางช่องท้อง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2563;26:231-50.
รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคหัวใจ. กลุ่มการพยาบาล. โรงพยาบาลลำพูน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. 2566.
ปิยะมา ผาสุข และ นวพรรณ ประปานา. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยทารกโรคหัวใจแต่กำเนิดที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงจากระบบหลอดเลือดแดงไปยังระบบพัลโมนารีหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข 2566;3(3):16-31.
วิภาวิน วัฒนะประการชัย และคณะ. ผลของรูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านผนังทรวงอกในผู้ป่วยเด็กอายุ 6 เดือน-3 ปี ต่อการใช้ยา Chloral Hydrate. วารสารการพยาบาลและวิทยาศาสตร์ 2559;33(2):68-76.
ทิพย์สุคนธ์ อารยวงศ์ และคณะ. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ 2567;8(1):1-13.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ. ปัจจัยสนับสนุนระบบการดูแลแบบไร้รอยต่อของเครือข่ายการพยาบาลโรคหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2560;28(2):154-167.
บุญชัย กิจสนาโยธิน และ ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย.บริการสุขภาพปฐมภูมิแบบไร้รอยต่อกับความจริงด้านมาตรฐานข้อมูลสุขภาพที่ผู้คนมักไม่ตระหนัก. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2564; 28(2):131-135.