ผลของรูปแบบการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, การจัดการตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลหนองสองห้อง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จำนวน 84 คน ศึกษาระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครืองมือจัดกิจกรรมรูปแบบ, แบบเก็บข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินพฤติกรรมควบคุมน้ำตาล, แบบประเมินการจัดการตนเอง, แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง, แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรนณา และเปรียบเทียบก่อนหลังใช้รูปแบบด้วยสถิติ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.33 อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 54.76 กระบวนการของรูปแบบประกอบด้วย 4 ชั้นตอน 1) ศึกษาปัญหา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการตนเอง 3) ทดลองใช้รูปแบบ 4) ประเมินผล หลังได้รับรูปแบบการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล, พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความพึงพอใจ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05, t =2.48, 11.94, 8.81, 4.26) สรุปรูปแบบการจัดการตนเองนี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้
References
World Health Organization. Diabetes. [Internet].2022. [cited 2022 October 25]. Available from: https://www.who.int/news-room/facts-in-pictures/detail/diabetes.
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. คู่มือประเมินการดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพปีงบประมาณ 2558.
กรรณิกา สายแดง. กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2559.
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2565. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสาหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ:สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ;2560.
กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลหนองสองห้อง. รายงานผู้ป่วยเบาหวานจากฐานข้อมูลสุขภาพ HDC. โรงพยาบาลหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น 2567.
ธีร์ธวัช บรรลือคุณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีษเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2565;37(1):53-64.
ดวงใจ พันธ์อารีวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี. ว.แพทย์เขต 4-5 2561;37(4):294-305
อภิชัย สิรกุลจิรา.ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดกับการเกิดภาวะเสี่ยงสมองเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน.วารสารกรมการแพทย์. 2560; 42(1): 112-117.
วนิดา แซ่เฮง. การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร่วมกับภาวะแทรกซ้อนหลายระบบ.โรงพยาบาลองครักษ์. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก 2566.
รัชมนภรณ์ เจริญ และคณะ. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2.รามาธิบดีพยาบาลสาร.2558; 16(3): 279-292.