การเปรียบเทียบความถูกต้องของเครื่องวัดระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง (transcutaneous bilirubin : TcB) เทียบกับระดับบิลิรูบินในเลือด (total serum bilirubin : TSB) ในทารกแรกเกิด
คำสำคัญ:
การวัดระดับบิลิรูบินในเลือด (TSB), การวัดระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง (TCB), การวัดระดับไมโครบิลิรูบินในเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของเครื่องวัดระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง JM-105® กับระดับบิลิรูบินในเลือด TSB และศึกษาความแม่นยำของเครื่องวัดระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง JM-105® เทียบกับการวัดระดับไมโครบิลิรูบินในเลือด โดยเทียบกับ TSB (Gold Standard) กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกแรกเกิดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 30 ธันวาคม 2566 จำนวน 320 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของทารก ข้อมูลการวัดระดับบิลิรูบิน วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ ทดสอบค่าที ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และความสามารถในการทำนาย
ผลการศึกษา: จากจำนวนทารก 320 คน วัดระดับไมโครบิลิรูบินในเลือดจำนวน 170 คน วัดระดับไมโครบิลิรูบินทางผิวหนังจำนวน 150 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ลักษณะกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ค่าบิลิรูบินทางผิวหนัง (TcB) มีความสัมพันธ์กับค่าบิลิรูบินในเลือดในระดับดี (r=0.72) ความสามารถในการทำนาย ที่วัดทางผิวหนังเทียบกับในเลือดจุดตัดของบิลิรูบินที่ระดับ 13 มก./ดล. ค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าพยากรณ์เชิงลบ และค่าผลบวกลวงเท่ากับ 97.9, 62.5, 83.3, 16.6 ตามลำดับ
References
Ambalavanan N, Carlo W. Jaundice and Hyperbilirubinemia in the Newborn. In: Kliegman R, Stabton B, Schor N, St. Geme J, Behrman R, editors. Nelson Textbook of Pediatrics. 19th ed. Philadelphia: ELSEVIER; 2011. p. 603-6.
Petersen JR, Okorodudu AO, Mohammad AA, Fernando A, Shattuck KE. Association of transcutaneous bilirubin testing in hospital with decreased readmission rate for hyperbilirubinemia. Clin Chem 2005;51(3):540-4.
Wainer S, Parmar SM, Allegro D, Rabi Y, Lyon ME. Impact of a transcutaneous bilirubinometry program on resource utilization and severe hyperbilirubinemia. Pediatrics 2012;129(1):77-86.
American Academy of Pediatrics Subcommittee on Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or more weeks of gestation. Pediatrics 2004;114(1):297-316.
Barbosa AD. Transcutaneous bilirubinometry: important method in the evaluation of newborns with hyperbilirubinemia. J Pediatr (Rio J) 2007; 83(5):485
Engle WD, Jackson GL, Engle NG. Transcutaneous bilirubinometry. Semin Perinatol 2014;38(7):438-51.
el-Beshbishi SN, Shattuck KE, Mohammad AA, Petersen JR. Hyperbilirubinemia and transcutaneous bilirubinometry. Clin Chem 2009; 55(7):1280-7.
Maisels MJ, Ostrea EM Jr, Touch S, Clune SE, Cepeda E, Kring E, et al. Evaluation of a new transcutaneous bilirubinometer. Pediatrics 2004;113(6):1628-35.
Conceicao CM, Dornaus MF, Portella MA, Deutsch AD, Rebello CM. Influence of assessment site in measuring transcutaneous bilirubin. Einstein (Sao Paulo) 2014;12(1): 11-5.
Kitsommart R, Yangthara B, Wutthigate W, Paes B. Accuracy of transcutaneous bilirubin measured by the BiliCare device in late preterm and term neonates. J Matern Fetal Neonatal Med 2016;29(22): 3641-5.
จันทนา พันธ์บูรณะ, ศุภวัชร บุญกษิด์ิเดช, สุดารัชต์ ฤกษ์ใหญ่. ความแม่นยำของการตรวจระดับบิลิรูบินทางผิวหนังเปรียบเทียบกับการวัดระดับบิลิรูบินจากซีรั่ม. J Med Assoc Thai 2010; 93(2): 81-86.
Gerium Medical Ltd. Comparative clinical study summary.2013; BiliCare Clinical Data White paper
สุวิมล สรรพวัฒน์, อิศรางค์ นุชประยูร. การวัดค่าบิลิรูบินทางผิวหนังในทารกคลอดก่อนกำหนด. J Med Assoc Thai 2007; 90 (9): 1803-8