ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • มารตี กัลยารัตน์ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, หญิงตั้งครรภ์, การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

     การศึกษาแบบเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่มารับบริการที่แผนกห้องคลอด โรงพยาบาลโพธิ์ไทร ตั้งแต่ปี 2564-2566 จำนวน 207 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ Wayne ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ Multistage Random Sampling โดยแบ่งสัดส่วนตามปีที่มารับบริการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่า IOC เท่ากับ 0.82 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value< 0.05 
     ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด อยู่ในระดับต่ำ (Mean=2.27, SD=0.82) การรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.08, SD=0.72) การสนับสนุนทางสังคมภอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=2.47, SD=0.67) แรงจูงใจด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=2.57, SD=0.85) และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 3.61, SD=0.77) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด พบว่า ปัจจัยด้านระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความเพียงพอของรายได้ อายุครรภ์ ลำดับครรภ์ ประวัติการฝากครรภ์ ประวัติการแท้ง ประวัติการคลอดก่อนกำหนด ประวัติการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ ประวัติการติดเชื้อในระบบอื่นๆ ขณะตั้งครรภ์ และประวัติซีดขณะตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value< 0.05 

References

Goldenberg RL, Culhane JF, Iams JD, & Romero R. (2008). Epidemiology and causes of preterm birth. The Lancet 2008; 371(9606): 75-84.

Boonpratum C, Wongwananuruk T, & Boriboonhirunsarn D. Factors affecting self-care behavior among pregnant women with preterm labor. Journal of the Medical Association of Thailand 2016; 99(1): 44-50.

Jomeen J, & Martin CR. The impact of clinical guidance on preterm labour management. Midwifery 2008; 24(1): 13-21.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานสถานการณ์สุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2566. อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี; 2566.

โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. รายงานการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์; 2566.

โรงพยาบาลโพธิ์ไทย. รายงานประจำปี 2563. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลโพธิ์ไทย; 2566.

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6 th ed. New York: John Wiley & Sons; 1995.

Cronbach LJ. Essential of psychology testing. New York: Harper; 1984.

นิจรินทร์ วรจันทร์, เพ็ญแข เกรียงไกรเกษม. (2563). การให้ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2563; 38(3): 145-158.

Smith K, Williams J, & Jones P. Educational level and pregnancy self-care. Journal of Women’s Health 2015; 8(4): 332-345.

Johnson M, & Roberts K. Socioeconomic factors and pregnancy outcomes. Health Economics Review 2014; 9(1): 112-126.

Williams J. Income sufficiency and its impact on prenatal health behavior. Economic Review of Health Services 2016; 11(3): 143-159.

Brown L, Smith K, & Jones H. (2013). Factors influencing self-care behaviors in pregnant women. Pregnancy and Childbirth Journal 2013; 10(2): 97-109.

Davis R, Johnson T, & Martinez L. Parity, and its effect on prenatal care. Journal of Obstetric Research 2018; 5(3): 145-158.

Martinez L, Wilson J, & Davis R. (2017). The role of prenatal care in improving maternal health outcomes. Maternal and Child Health Journal 2017; 21(6): 721-731.

Jones P, Taylor A, & Evans R. Infection risks during pregnancy and self-care practices. Journal of Infectious Diseases in Obstetrics and Gynecology 2019; 16(3): 201-210.

อัสมะ จารู, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำ หนดวารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562; 39(1): 79-92.

Adams J, & Nelson P. The impact of age on self-care behavior in pregnant women. Journal of Maternal Health 2020; 12(4): 215-228.

Miller A, Brown L, & Taylor S. Family dynamics and self-care behavior in pregnant women. Family Health Review 2018; 13(2): 182-195.

Wilson J. Social support and family structure in pregnancy health. Journal of Social Health 20121; 19(1): 101-115.

Jackson S. Work and daily routine adjustments during pregnancy. Occupational Health Journal 2017; 22(1): 35-48.

Taylor A, & Evans R. Medication use in pregnancy and its effect on self-care. Clinical Pharmacology in Pregnancy 2019; 14(2): 89-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

กัลยารัตน์ ม. . . . . (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 567–576. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3449