การพัฒนารูปแบบการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
จิตเวชใช้ความรุนแรง, การพยาบาล, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ทำการศึกษาในช่วงเดือน มกราคม-ธันวาคม 2566 รวมระยะเวลา 12 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรและภาคีเครือข่าย จำนวน 50 คน ผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการทางจิตและเสี่ยงก่อความรุนแรงและญาติผู้ดูแล จำนวน 20 คน ประกอบด้วย กิจกรรมการพัฒนา, แบบเก็บข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินดัชนีความสุขในชีวิตของญาติผู้ป่วยยาเสพติด แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง (OAS) แบบวัดความเครียด และแบบวัดคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม ด้วยสถิติเชิงอนุมาน Percentage differences
ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง จำนวน 20 คน ส่วนมากเพศชาย ร้อยละ 80.00 มีอายุต่ำกว่า 20 ปี 25.00 สถานภาพโสด ร้อยละ 50.00 ระดับการศึกษามัธยมปลายและปวช. ร้อยละ 40.00 ส่วนมากทำไร่ทำ ร้อยละ 40.00 ภายหลังการใช้รูปแบบพบว่า ความรุนแรงลดลง ภาวะความเครียดลดลง และคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
References
World Health Organization. The global burden of disease: 2018 update. Geneva: World Health. Organization; 2018.
Beck AT, Rush AJ, Shaw BF, Emery G. Cognitive therapy of depression. New York: The Guilford press; 1979.
สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) พ.ศ.2561เอกสารรายงานการใช้ยาเสพติดโลก (world drug report) ปี พ.ศ.2564 [อินเตอร์เน็ต>.2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://wdr.unodc.org/wdr2019
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. รายงานผลการด าเนินงานป้องกันและปราบปราม ปี 2565. กรุงเทพมหานครโรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เลขที่ 5 แขวง สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ. 2565.
Organization; 2008 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. จับตาทิศทางสุขภาพจิตคนไทยปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/thaihealthwatch/
กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการติดตามดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยจิตเวชสุรา ยา สารเสพติด โรงพิมพ์บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด กรุงเทพมหานคร. 2563.
โรงพยาบาลโพนทอง. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ความรุนแรง. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. 2566.
สยาภรณ์ เดชดี และ อรวรรณ หนูแก้ว. การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2563; 35(1): 120-132.
โกศล เจริญศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2566; 8(1): 119-128.
ณฐพร ผลงาม. การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดระยอง. วารสารศาสตรสาธารณสุขนวตกรรม 2564; 1(2): 112-118.
ธิดารัตน์ ห้วยทราย และคณะ. ความคิดอัตโนมัติด้านลบ และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยจิตเวช.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2565; 24(1): 121-130.
วชิราภรณ์ สอระสัน. การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยใช้สารเสพติดและญาติผู้ดูแล อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2566; 8(1): 1-8.