ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอดในมารดาที่มีบุตรคนแรก
คำสำคัญ:
โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม, สื่ออิเล็กทรอนิกส์, การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา, มารดาหลังคลอดบุตรคนแรกบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอดในมารดาที่มีบุตรคนแรก กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอดบุตรเป็นครั้งแรกและได้รับการดูแลหลังคลอดในโรงพยาบาลโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร และโรงพยาบาลโพทะเล จังหวัดพิจิตร ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนกันยายน 2566 จำนวน 42 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 21 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่ามารดาหลังคลอดบุตรคนแรกในกลุ่มทดลองมีอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา อย่างเดียวที่ 6 สัปดาห์หลังคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.043)
References
World Health Organization. (2017). Continuedbreastfeeding for healthy growth and development of children. https://www.who.int/elena/titles/bbc/ continued_breastfeeding/en/
American College of Obstetricians and Gynecologists. (2021). Barriers to breastfeeding: Supportinginitiation and continuation of breastfeeding. The American College of Obstetricians and Gynecologists, 137(2), e54-e62
Much, D., Beyerlein, A., Roβbauer, M., Hummel, S., & Ziegler, A. G. (2014). Beneficial effects of breastfeeding in women with gestational diabetes mellitus. Molecular metabolism,
World Health Organization & United Nations Children's Fund. (2017). Tracking progress for breastfeeding policies and programmes. Retrieved from https://www.who.int/nutrition/
World Health Organization. (2018). Global Breastfeeding scorecard 2018.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2566) การปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. สืบค้น 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 แหล่งที่มา https://hp.anamai.moph.go.th/web
Al-Sahab, B., Lanes, A., Feldman, M. & Tamim, H. (2010). Prevalence and Predictors of 6-Month Exclusive Breastfeeding among Canadian Women: A National Survey. BMC Pediatrics, 10, 20. doi.org/10.1186/1471-2431-10-20
Cohen, S. S., Alexander, D. D, Krebs, N. F., Young, B. E., Cabana, M.D., Erdmann, P., Hays, N. P., Bezold, C. P., Levin-Sparenberg, E., Turini, M., & Saavedra, J. M. (2018). Factors Associated with Breastfeeding Initiation and Continuation: A Meta-Analysis. THE JOURNAL OFPEDIATRICSORIGINALARTICLES. Dec; 203:190-196.e21. doi: 10.1016/j.jpeds.2018.08.008.
El-Houfey, A.A., Saad, K, Abbas, A. M.,. Mahmoud, S.R. & Wadani, M. (2017). Factors That Influence Exclusive Breastfeeding: A literature Review. International Journal of Nursing Didactics, 7(11) DOI: 10.15520/ijnd.2017.vol7.iss11.264.24-31
House, J. S., (1981). Work Stress and Social Support: MA: Addison - Wesley. https://www.who.int/nutrition/publications/infantfeeding/global-bf-scorecard-2018.pdf?ua=1
สุฑารัตน์ ชูรส ปรีดาวรรณ กะสินัง พูลศรี กมุท และพิเชษฐ เชื้อขํา, (2565) ประสิทธิผลของการส่งเสริมการ เลี้ยงลูกด้วยนมมารดาโดยการสนับสนุนของสังคม : การทบทวนอย่างเป็นระบบ. แพทยสารทหารอากาศ. 68(1), 21 - 33.
พรนภา ตั้งสุขสันต์ และเอมอร รตินธร (2554) ประสบการณ์และปัจจัยเชิงบริบทที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29 (3), 52-63
นวพร มามาก และกมลรัตน์ เทอร์เนอร์. (2559). บทบาทพยาบาลกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสามีหรือญาติเพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารกองการพยาบาล, 43, 114 - 126.
พัตนี วินิจจะกูลและ อรพร ดำรงวงศ์ศิริ (2563). สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พุทธมณฑล
พัชรินทร์ ไชยบาล ลาวัลย์สมบูรณ์ และ กรรณิการ์ กันธะรักษา (2553). ผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาที่มีบุตรคนแรก. พยาบาลสาร, 37 (4), 70 - 81.
พัชนียา เชียงตา, ฉวี เบาทรวง และกรรณิการ์ กันธะรักษา (2557). ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาครรภ์แรก. พยาบาลสาร, 41(3), 1-12.