การรับรู้ และทัศนคติ ที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า ของประชาชนอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • วันเตาเฟ็ก แวดือราแม โรงพยาบาลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

คำสำคัญ:

การรับรู้, ทัศนคติ, บุหรี่ไฟฟ้า, ประชาชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า 2) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติที่มีต่อการสูบบุหรี่ไฟฟ้า และ 3) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารกับทัศนคติที่มีต่อการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ของประชาชนอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส จำนวน 207 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้โปรแกรม G*Power โดยการเลือก Goodness-of-fit tests: Contingency และกำหนด effect size = 0.30,error prob. = 0.05 และ power (1-B error prob.) = 0.95 เครื่องมือในการรวบรวมเก็บข้อมูล เป็น แบบสอบถาม (Questionnaire) ผ่านช่องทางออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติไค – สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
     ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ มีค่า P-Value = 24.453 อายุ มีค่า P-Value = 49.413 สถานภาพสมรส มีค่า P-Value = 60.908 อาชีพ มีค่า P-Value = 101.453 มีบุคคลใกล้ชิดสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีค่า P-Value = 24.453 และรายได้ มีค่า P-Value = 21.514 ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่ำต่อทัศนคติที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารกับทัศนคติที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า มีค่า P-Value = 21.514 ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าประเด็นที่การรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกมากที่สุด คือประเด็น บุหรี่ไฟฟ้าถือว่าเป็นยาเสพติดชนิดใหม่และมีสารพิษที่อันตรายมากกว่าบุหรี่มวน (r = 0.244,P=0.001) รองลงมา คือ ประเด็น การสูบบุหรี่ไฟฟ้า 1 ครั้งจะเท่ากับ สูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวน และมีปริมาณนิโคตินมากกว่าบุหรี่มวนทั่วไป (r = -0.200,P=0.000) ประเด็น บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายเทียบเท่าเฮโรอีน และโคเคน บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายเทียบเท่าเฮโรอีน และโคเคน (r = -0.191,P=0.005) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ

References

กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร, ปัณณทัต บนขุนทด, ถาวรีย์ แสงงาม, ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ และศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์. (2564). บทบาทพยาบาลในการป้องกัน ลด ละ เลิกบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(38), 619-631.

สำนักงานสาธารณสุขนราธิวาส. (2566). Health Data Center (HDC). สืบค้น 5 กันยายน 2566.จาก https://nwt.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.

ปริมประภา ก้อนแก้ว และ กู้เกียรติ ก้อนแก้ว. (2565). การรับรู้ ทัศนคติ การเข้าถึงบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ และความตั้งใจที่จะใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชนในระบบการศึกษาภาคเหนือ ประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค ปีที่ 48 ฉบับที่ 3, น.551-562.

นิยม จันทร์นวล และพลากร สืบสำราญ.(2559). สถานการณ์การสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.วารสารสาธารณสุขล้านนาปีที่19 ฉบับที่1 น.76 – 88.

เสาวลักษณ์ มะเหศวร, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์.(2561). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาหญิงจังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารพยาบาลสาธารณสุข , 32(1), 29-44.

พรรณปพร ลีวิโรจน์, อรวรรณ คุณสนอง, และเกสร ศรีอุทิศ. (2559).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่และผลการพัฒนาโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรม เพื่อลดการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นนอกระบบการศึกษา. นนทบุรี: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

กิติพงษ์ เรือนเพชร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชายอาชีวศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

แวดือราแม ว. . . . (2024). การรับรู้ และทัศนคติ ที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า ของประชาชนอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 604–612. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3454