การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย ตำรับ แก้ลมแก้เส้น ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ในผู้ป่วยที่มาบำบัดรักษาที่ คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • พิศมัย ยุ้งกระโทก แพทย์แผนไทยชำนาญการ โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ความปลอดภัย, ตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย, การลดอาการปวด

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมส่งเสริมความปลอดภัยของตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย ตำรับ แก้ลมแก้เส้น ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ทำการศึกษาในช่วงเดือน สิงหาคม 2565-กรกฎาคม 2566 รวมระยะเวลา 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีอาการปวดที่มารับบริการงานแพทย์แผนไทย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมความปลอดภัย, แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินความปลอดภัย  แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ก่อน-หลัง ด้วยสถิติเชิงอนุมาน paired t-test 
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเพศหญิง ร้อยละ 73.33 ช่วงอายุส่วนมาก อยู่ในช่วง 41-50 ปี และ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 26.67 เท่ากัน สถานภาพแต่งงาน ร้อยละ 56.67 การศึกษาส่วนมากประถมศึกษา ร้อยละ 53.33 ส่วนมากมีอาการปวดขาและปวดเอว ร้อยละ 26.67 ประเภทตำรับกัญชาที่ใช้ร่วมคือตำรับลายพระสุเมรุ ร้อยละ 20.00 อาการที่ใช้รักษาร่วมคือนอนไม่หลับ ร้อยละ 26.67 ภายหลังการใช้ผลของโปรแกรมส่งเสริมประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย ตำรับ แก้ลมแก้เส้น ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ระดับประสิทธิผลความปลอดภัย และ ความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (t = 6.28, 6.09)

References

Lake, S., Walsh, Z., Kerr, T., Cooper, Z.D., Buxton, J., Wood, E. Frequency of cannabis and illicit opioid use among people who use drugs and report chronic pain: A longitudinal analysis. PLOS Med 2019; 16(11):2967-73.

สุขุม กาญจนพิมาย. กระทรวงสาธารณสุข เตรียมเปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาล สร้างโอกาสการรักษา ประชาชนเข้าถึงการรักษาด้วยยากัญชาอย่างปลอดภัย. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 31 มกราคม 2565]. จาก:https://pr.moph.go.th

Parka JY, Wua LT. Prevalence, reasons, perceived effects, and correlates of medical marijuana use. Drug and Alcohol Dependence 2017; 177:1-13.

นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี. เวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 19 เรื่อง “กัญชา เพื่อเยียวยาสุขภาพ?”. ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562. [เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2565]. จาก: https://www.chula.ac.th.

โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. รายงานสถานการณ์คลินิกการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. 2566.

นุสรา ประเสริฐศรี และคณะ. กัญชาทางการแพทย์เพื่อจัดการความปวด:บทบาทพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์.2564; 5(1): 1-10.

ปิยวรรณ เหลืองจิรโณทัย และคณะ. ประสิทธิผลของสารสกัดกัญชาคลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.2564; 19(1): 19-33.

ดุษฎี ศรีธาตุ และคณะ. การให้บริการตารับยาที่มีกัญชาปรุงผสมในคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. วารสารวิชาการ กัญชา กัญชง และสมุนไพร มทร.อีสาน วข.สกลนคร 2565; 1(1): 1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ยุ้งกระโทก พ. . . . . (2024). การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย ตำรับ แก้ลมแก้เส้น ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ในผู้ป่วยที่มาบำบัดรักษาที่ คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 622–627. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3456