ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรม การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลโพนพิสัย

ผู้แต่ง

  • ภัคทิพา จันบุตรดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • พันธ์ทิพย์ ศรีตะบุตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

เบาหวานชนิดที่ 2, การจัดการตนเอง, การประยุกต์ใช้โปรแกรม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลโพนพิสัย กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 22 คน ทำการศึกษาในช่วงเดือนตุลาคม 2566-พฤษภาคม 2567 รวมระยะเวลา 8 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครืองมือจัดกิจกรรมตามโปรแกรม, แบบเก็บข้อมูลทั่วไป, แบบทดสอบความรู้ เจตคติ และ พฤติกรรมการการตนเอง สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรนณา และเปรียบเทียบก่อนหลังใช้รูปแบบด้วยสถิติ paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ร้อยละ 63.6 มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 55.04 ปี (S.D.=8.2) สถานภาพสมรส ร้อยละ 86.4 การศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 59.10 เกษตรกร ร้อยละ 50.00 โปรแกรมประยุกต์ มี 5 แนวทาง ดังนี้ 1) มีรูปแบบการให้สุขศึกษาที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน 2) ให้ความรู้ผู้ป่วยแบบกลุ่มรวมกัน 3) บูรณาการทีมดูแลต่อเนื่องชุมชนเพื่อดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 4) บูรณาการทีมพยาบาล NCD ร่วมกับ IT เพื่อใช้เทคโนโลยีดูแลผู้ป่วย 5) ติดตามประเมินผลรายบุคคลทาง Telemedicine, Application line และทางโทรศัพท์ ภายใน 1 สัปดาห์ หลังการใช้โปรแกรมทำให้ ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการจัดการตนเอง คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=5.69, 5.12, 6.68 ตามลำดับ)

References

World Health Organization. Diabetes. [Internet].2022. [cited 2022 October 25]. Available from: https://www.who.int/news-room/facts-in-pictures/detail/diabetes.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. คู่มือประเมินการดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพปีงบประมาณ 2558.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2565. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2565.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสาหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ:สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ;2560.

กรรณิกา สายแดง. กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2559.

กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลโพนพิสัย. รายงานผู้ป่วยเบาหวานจากฐานข้อมูลสุขภาพ HDC. โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 2567.

อภิชัย สิรกุลจิรา.ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดกับการเกิดภาวะเสี่ยงสมองเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน.วารสารกรมการแพทย์. 2560; 42(1): 112-117.

ดวงใจ พันธ์อารีวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี. ว.แพทย์เขต 4-5 2561;37(4):294-305

ธีร์ธวัช บรรลือคุณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีษเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2565;37(1):53-64.

จงรัก สุวรรณรัตน์ และ ธณกร ปัญญาใสโสภณ. การพัฒนารูปแบบระบบความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและค่าน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2565; 40(2): 95-104.

สุรีย์พร ปัญญาเลิศ, นิรัตน์ อิมามี และวรากร เกรียงไกรศักดา. การกำกับตนเองในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสุขศึกษา 2560; 40(1):69-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

จันบุตรดี ภ. ., & ศรีตะบุตร พ. . (2024). ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรม การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลโพนพิสัย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 628–636. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3458