ผลการพัฒนารูปแบบการกำกับดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควบคุมโรคไม่ได้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • จินัฐตา พงประเสริฐ โรงพยาบาลยโสธร
  • ยุพิน เสาร์ทอง โรงพยาบาลยโสธร
  • นวธัญย์พร ศรีจันทร์ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

ปแบบการกำกับดูแลตนเอง, เบาหวานชนิดที่ 2, ผลลัพธ์ทางคลินิก, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควบคุมโรคไม่ได้

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการกำกับดูแลตนเองในชุมชน ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้ ในชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ศึกษาในกลุ่มทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลยโสธร และทีมสุขภาพชุมชน 15 คน และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 32 คน ดำเนินการ 4 ระยะ ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา การพัฒนารูปแบบการกำกับดูแลตนเองในชุมชน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควบคุมโรคไม่ได้ การทดลองใช้ และการประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสนทนา และแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการกำกับตนเอง พฤติกรรมสุขภาพ และผลลัพธ์ทางคลินิก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample T-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.30 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 75.0 อายุเฉลี่ย 64.4 ปี (S.D.=10.17) ระยะเวลาป่วยเป็นโรคเบาหวาน น้อยกว่า 12 ปี ร้อยละ 56.30 มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 71.90 รูปแบบการกำกับดูแลตนเองในชุมชน ประกอบด้วย 1) การประเมินสุขภาพ ให้ความรู้ และตั้งเป้าหมายร่วมกัน 2) เยี่ยมบ้าน พัฒนาทักษะทบทวนปัญหาและปรับเปลี่ยนเป้าหมายร่วมกัน 3) อสม. ติดตามเจาะน้ำตาลอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 4) ติดตามประเมินคู่มือการกำกับตนเอง และ 5) ประเมินผลการรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรม และผลลัพธ์ทางคลินิก ภายหลังได้รับการพัฒนารูปแบบส่งผลให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ความสามารถในการกำกับตนเอง พฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) ส่วนน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย รอบเอว และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001)

References

International Diabetes Federation. (2019). IDF DiabetesI ATLAS Ninth edition 2019. Retrieved from https://www.diabetesatlas.org/upload/resources/material/20200302_133351_ IDFATLAS9e-final-web.pdf

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์, กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถิติการป่วยและตายด้วยโรคเรื้อรัง. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/2016/mission3

จันจิรา ภู่รัตน์, ปาหนัน พิชยภิญโญ, สุนีย์ ละกำปั่น. (2563). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการกำกับตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเกื้อการุณย์, 27(1), 20-33.

สุรีย์พร พานนท์, ชัยยงค์ ขามรัตน์, อติพร ทองหล่อ. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกํากับตนเอง ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการออกกําลังกาย สําหรับผู้ที่มีภาวะอ้วน ตําบลกลันทา อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 7(1), 24-36.

ธัญญารัตน์ นวลประเสริฐ. (2556). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 1(2), 8-18.

ภาฤดี พันธุ์พรม, ยุวดี รอดจากภัย, กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. (2560). ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองต่อดัชนีมวลกายของประชาชนที่มีน้ำหนักเกินในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 46-59.

สุภาพร ทิพย์กระโทก, และธนิดา ผาติเสนะ. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะอ้วนลงพุง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 210-223.

ชลธิรา เรียงคำ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, อัครเดช เกตุฉ่ำ, อภิรดี ศรีวิจิตรกมล. (2016). ความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง อายุ และความสามารถในการมองเห็น ในการทำนายพฤติกรรมในการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(4), 35-46.

ทรงเดช ยศจำรัส, ปาริชา นิพพานนทร์. (2556). ผลการพัฒนาความสามารถของตนเองและการตั้งเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 21-30.

ยุคลธร เธียรวรรณ, มยุรี นิรัตธราดร, ชดช้อย วัฒนะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน. พยาบาลสาร. 2555;39(2):132-142.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychological Review, 84(1), 191-215.

Ruiz, S., Brady, T. J., Glasgow, R. E., Birkel, R., & Spafford, M. (2014). Chronic conditionself-management surveillance: What is and what should be measured? Preventing Chronic Disease, 11(19), 1-14.

ปัฐยาวัชร ปรากฎผล, อรุณี ไชยฤทธิ์, อุทัยทิพย์ จันทร์เพ็ญ, กนกพร เทียนคำศรี, ขนิษฐา แสงทอง, สมจิตต์ สินธุชัย. (2565). ประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ การจัดการตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเขตสุขภาพที่ 4. วารสารพยาบาลตำรวจ, 14(2), 289-301.

ณัฐธยาน์ วิสารพันธ์, จิตร มงคลมะไฟ, นิบพร แสนโท, วราทิพย์ แก่นการ. (2563). ประสิทธิผลของการจัดการตนเองและครอบครัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดยโสธร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(4), 102-111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

พงประเสริฐ จ. ., เสาร์ทอง ย. ., & ศรีจันทร์ น. . . (2024). ผลการพัฒนารูปแบบการกำกับดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควบคุมโรคไม่ได้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 646–657. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3461