การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กันย์วิตรา หิรัญเชวงศักดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี
  • กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, การดูแลต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะดูแลต่อเนื่องที่บ้านสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองอุบลราชธานี กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล 25 คน ผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบ 7 คน  กลุ่มตัวอย่างในการนำแนวไปฏิบัติไปทดลองใช้ 1) พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต. รวม 20 คน 2) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมของแนวปฏิบัติทางการพยาบาล แบบประเมินความรู้ฯ และทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะดูแลต่อเนื่องที่บ้าน แบบประเมิน ADL และแบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการศึกษาพบว่า : 1. แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน ได้แก่ 1) แนวทางการประเมินและการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น 2) แนวทางการตรวจทางระบบประสาท 4) แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการ/การตรวจพิเศษ 5) การรายงานแพทย์ 6) การให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ 7) หุ้นส่วนในการดูแล 8) การแสวงหาและการใช้แหล่งประโยชน์  9) การประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกล และ 10) การประเมินเพื่อเฝ้าระวังและติดตามอาการ 2. แนวปฏิบัติทางการพยาบาล มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (equation=4.64, S.D.=0.28)  3. หลังนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้  3.1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทักษะในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะดูแลต่อเนื่องที่บ้านเพิ่มขึ้น (p<.001) 3.2) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะดูแลต่อเนื่องที่บ้าน มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและพฤติกรรมการจัดการตนเองดีขึ้น (p<.001)

References

World Stroke Organization. (2023). Stroke, Cerebrovascular Accident Retrieved. Retrieved September 7 , 2023, from http://www.world-stroke.org/about-wso/annual-reports

ณฐกร นิลเนตร. (2562). ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 51-57.

นลินี พสุคันธภัค, สายสมร บริสุทธิ์ และ วันเพ็ญภิญโญภาสกุล. (2562). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ณฐกร นิลเนตร, ชนัญญา จิระพรกุล, และเนาวรัตน์ มณีนิล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสุขศึกษา, 41(1), 62-75.

ปัญจนา พรายอินทร์, บุญญรัตน์ เพิกเดช และพิมพร ลีละวัฒนากุล. (2565). ศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูตามแนวคิด การจัดการตนเอง. วารสารสภาการพยาบาล 2565; 37(4) 73-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

หิรัญเชวงศักดิ์ ก. . ., & กันยะกาญจน์ ก. . . (2024). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองอุบลราชธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 658–662. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3462