การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองโดยชุมชนมีส่วนร่วม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • พะเยา พรมดี งานการพยาบาลที่บ้านและชุมชน กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • เยาวภา สีดอกบวบ งานการพยาบาลที่บ้านและชุมชน กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • อภิญญา พรมจันทร์ งานการพยาบาลที่บ้านและชุมชน กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

พัฒนารูปแบบ, มะเร็งระยะท้าย, ดูแลประคับประคอง, ชุมชนมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัย Quasi – Experimental เก็บข้อมูลแบบ Retro – Prospective data collection มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโดยชุมชนมีส่วนร่วม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ศึกษาในผู้ป่วย ในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้ายทุกชนิดที่เข้ามารับบริการในคลินิกสุขชีวาโรงพยาบาลหนองบัวลำภู โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง ตุลาคม 2565 - มิถุนายน2566 จำนวน 103 คน ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้รูปแบบเดิม และเก็บข้อมูลไปข้างหน้า กรกฎาคม 2566 - มีนาคม 2567 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่จำนวน 103 คน วิเคราะห์ผลลัพธ์หลักเปรียบเทียบจำนวนของการทำ Advance care plan ด้วย Multivariable risk difference regression analysis และวัดความรู้ก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ด้วย paired t test
     ผลวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายดูแลแบบประคับประคองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู จำนวน 206 คน กลุ่มก่อนการพัฒนาจำนวน 103 คน และกลุ่มหลังการพัฒนาจำนวน 103 คน ผลเปรียบเทียบการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโดยชุมชนมีส่วนร่วม เมื่อวิเคราะห์ด้วย multivariable risk difference regression และ multivariable mean difference regression หลังปรับอิทธิพลตัวแปร พบว่าการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองโดยชุมชนมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มจำนวน Advance care plan ได้ 47 % (95%CI: 0.34 , 0.60) (p<0.001) สามารถเพิ่ม Living will 12% (95%CI: 0.04, 0.19) (p=0.002) สามารถเพิ่ม Family meeting 34% (95%CI: 0.21, 0.45) (p<0.001) และการประเมิน Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ช่วยลดอาการรบกวนต่าง ๆ ได้ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลลัพธ์เรื่องความรู้ของจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายโดยคะแนนความรู้หลังการอบรมเพิ่มขึ้นจาก 11.54(±2.54) คะแนนเป็น 14.45(±3.03) คะแนน (p<0.001) เมื่อเทียบกับก่อนการอบรม

References

นพ.วิเชียร ศรีมุนินทร์นิมิตและคณะ. ทำความรู้จักกับโรคมะเร็งกันเถอะมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ; พิมพ์ครั้งที่1.กรกฎาคม 2562. (http://www.thethaicancer.com/PDF/People/ทำความรู้จักกับโรคมะเร็งกันเถอะ.pdf)

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.นิยามปฏิบัติการ (Operational definition) ของคำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2563 หน้า 24.

ปฐมพร ศิรประภาศิริ และ คณะ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; พิมพ์ที่ สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ : พิมพ์ครั้งที่1 กันยายน 2563.

วาสนา สวัสดีนฤนาทและคณะ. ศึกษาวิจัยการพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ;วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข

ศรีรัตน์ มากมายและคณะ. ผลของแผนการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านในผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามใน : วารสารโรคมะเร็ง ฉบับที่2 ; 2561.

วราภรณ์ อ่อนอนงค์ และเยาวรัตน์ มัชฌิม. โปรแกรมการดูแลระยะท้ายเพื่อส่งเสริมการตายดีในผู้ป่วยมะเร็งใน : วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ฉบับที่1 ; 2562. หน้า158-169

กชพร เขื่อนธนะและคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ใน ; วารสารวิชาการสาธารณสุข ฉบับที่ 2 ; 2562.

จันทร์เพ็ญ ประโยงค์และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ใน : วารสารวิชาการสาธารณสุข ฉบับที่ 5 ; 2563.

สังวร สมบัติใหม่ พระครูสาทรธรรมสิทธิ์ และ สุริยนต์ สูงคำ. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเยียวยาผู้ป่วยระยะท้าย ใน : วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา ; ฉบับที่ 1 ; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

พรมดี พ. ., สีดอกบวบ เ. ., & พรมจันทร์ อ. . (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองโดยชุมชนมีส่วนร่วม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 699–709. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3467