ผลของโปรแกรมการใช้สติบำบัดในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้แต่ง

  • วรางคณา เร่งไพบูลย์วงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, สติบำบัด, การพัฒนาโปรแกรมบำบัด

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการใช้สติบำบัดในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ทำการศึกษาในช่วงเดือน สิงหาคม 2565-กรกฎาคม 2566 รวมระยะเวลา 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการสติบำบัด, แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินภาวะความเครียด (9Q) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ก่อน-หลัง ด้วยสถิติเชิงอนุมาน paired t-test
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.33 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 26.67 สถานภาพสมรส แต่งงาน ร้อยละ 40.00 การศึกษามัธยมปลาย ปวช. ร้อยละ 40.00 อาชีพทำไร่ทำนา ร้อยละ 40.00 รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนส่วนมากต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 50.00 ภาวะซึมเศร้าส่วนมากรู้สึกหดหู่ เศร้า หรือ ท้อแท้สิ้นหวัง ร้อยละ 60.00 มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อย ร้อยละ 53.33 ภายหลังการใช้ผลของโปรแกรมสติบำบัด ทำให้ภาวะความเครียดลดลง และความพึงพอใจเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (t = 12.69, 4.28)

References

World Health Organization. The global burden of disease: 2004 update. Geneva: World Health. Organization; 2008.

Beck AT, Rush AJ, Shaw BF, Emery G. Cognitive therapy of depression. New York: The Guilford press; 1979.

Organization; 2008 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. จับตาทิศทางสุขภาพจิตคนไทยปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/thaihealthwatch/

ศูนย์วิจัยและสารสนเทศโรคซึมเศร้า. รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าปีงบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thaidepression.com/www/report/main_report/

พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. การบำบัดรักษาทางจิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.thaimio.com/

มาโนช หล่อตระกูล. โรคซึมเศร้า [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017/

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ประวัติ เอราวรรณ์. การพัฒนาเชิงระบบเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้และคุณภาพโรงเรียน ระยะที่ 2 : การพัฒนาต้นแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการขยายเครือข่าย. กรมสุขภาพจิต:นนทบุรี.

โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยสุขภาพจิต. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. 2566.

บุษบา ทองโพธิ์ศรี. ผลของโปรแกรมการบำบัดและการให้คำปรึกษาโดยใช้สติเป็นฐาน ต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2565; 6(2): 49-60.

สมจิตร เสริมทองทิพย์ และคณะ. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวาน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 25(3): 66-75.

วิภาวี เผ่ากันทรากร และคณะ. ผลของโปรแกรมสติบำบัดต่อภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564;29(4):286-296.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

เร่งไพบูลย์วงษ์ ว. . . . (2024). ผลของโปรแกรมการใช้สติบำบัดในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 710–714. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3468