ผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผน และดนตรีบำบัด ต่อความวิตกกังวล การทำผ่าตัด แผนกผ่าตัดเล็ก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
การให้ความรู้, ดนตรีบำบัด, ความวิตกกังวลบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนร่วมกับดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดโดยฉีดยาชาเฉพาะที่ แผนกผ่าตัดเล็ก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 34 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการสร้างความสุขด้วยดนตรีบรรเลงบำบัด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ (STAI Form Y-1) แบบสอบถามความพึงพอใจ และโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับดนตรีบำบัด ค่าความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินความวิตกกังวลและแบบสอบถามความพึงพอใจเท่ากับ .92 และ .86 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ dependent และ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังการผ่าตัดของกลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังการผ่าตัดของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้เข้ารับบริการในกลุ่มทดลองทั้งหมด (ร้อยละ 100) มีความพึงพอใจต่อการเข้ารับการผ่าตัดในระดับมากที่สุด
References
Eberhart, L., Aust, H., Schuster, M., Sturm, T., Gehling, M., Euteneuer, F., & Rusch, D. (2020). Preoperative anxiety in adults-a cross-sectional study on specific fears and risk factors. BMC Psychiatry, 20(1), 1-14.
Fell, D., Derbyshive, D., Mail, C., Larsson, I., Ellis, R., Achola, K., & Smith, G. (1985). Measurment of plasma catecholamine concentration: An assessment of anxiety. British Journal of Anesthesia, 57(8), 770-774.
Oberle, K., Wry, J., Paul, P., & Grace, M. (1990). Environment anxiety and postoperative pain. Western Journal of Nursing Research, 12(6), 745-757.
Leventhal, H., & Johnson, J. (1983). Laboratory and field experimentation development of a theory of self-regulation. In P. Wooldridge, M. Schmitt, R. Leonard, & J. Skipper (Eds.), Behavioral science and nursing theory (pp. 189-262). CV Mosby.
ศิริทิพย์ สงวนวงศ์วาน, & กัลยา อุ่นรัตนะ. (2566). ประสิทธิผลของสื่อวีดีทัศน์ผสมภาพแอนนิเมชั่นให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังผสมยาแก้ปวดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(3), 488-498.
เนาวรัตน์ แก้วตา, กวิน ตั้งวรพงศ์ชัย, สมสมัย ศรีประไหม, & สุกัญญา สุกุมาลย์. (2563). ผลของการฟังดนตรีต่อการบําบัดความเจ็บปวดขณะส่องกล้องลําไส้ใหญ่. วารสารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(4), 221-238.