การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรสมรรถนะสูง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการ, องค์กรสมรรถนะสูงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม 1) กลุ่มการพัฒนารูปแบบ เป็นผู้บริหาร/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง/ผู้บริหาร 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง 2) ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ จำนวน 7 คน 3) กลุ่มทดลองใช้รูปแบบเป็นผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็น 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 2) แบบประเมินองค์ประกอบ และตัวชี้วัด 3) แบบสอบถามการปฏิบัติตามรูปแบบ 4) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มี 9 ด้าน ประกอบด้วย 1) การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชน (Trust) 2) ทำงานเป็นทีม และสนับสนุนคนเก่ง (Teamwork & Talent) 3) Technology (ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน) 4) Targets (ทำงานแบบมุ่งเป้าหมาย) 5) การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) 6) ภาวะผู้นำ (Leadership) 7) การพัฒนาบุคลากร (Workforce Development) 8) การสร้างนวัตกรรม (Innovation) และ 9) การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) 2. รูปแบบการบริหารจัดการองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.60, S.D.=0.32) 3. หลังการนำรูปแบบไปใช้ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตามตัวชี้วัดความสำเร็จของรูปแบบเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI=1.08-0.53, t=5.98p<.001)
References
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการรายงานระบบการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี. (2567). บทบาทในการบริหารงานสาธารณสุขเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย. อุบลราชธานี : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง กระทรวงสาธารณสุข MOPH-4T. กรุงเทพมหานคร: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2561). คู่มือแนวทางการพัฒนาองค์กรสู่ระบบราชการ 4.0.กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
น้ำทิพย์ สีก่ำ, ปุณณดา มูลศรี, วิภาวี เหล่าจตุรพิศ. (2566). รูปแบบการบริหารจัดการสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ.16,3 (กันยายน - ธันวาคม 2566), 114-126.