รูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นันทิยา ภูกิ่งพลอย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ, การพยาบาลต่อเนื่องในชุมชน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการศึกษาในช่วงเดือน ในช่วงเดือนตุลาคม 2566-กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบเก็บข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางคลินิก แบบประเมิน ADL แบบประเมิน MRS Score วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน สถิติเชิงอนุมาน t-test และเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 54.02 อายุส่วนมากน้อยกว่า 60 ปี ร้อยละ 33.33 (Mean± SD = 58.46±1.67, Min=52, Max=75ปี) อาชีพส่วนมากรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 36.78 นับถือศาสนาพุทธทั้งหมด ร้อยละ 100 การศึกษาส่วนมากประถมศึกษา ร้อยละ 40.23 ประเภทของโรคหลอดเลือดสมองส่วนมากเป็น Ischemic stroke ร้อยละ  82.76 โรคร่วมส่วนมากเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 32.18 ความลำบากของผู้ป่วยส่วนมากเดินลำบาก และ ความอ่อนแรง แขนขา  ร้อยละ 97.70 ระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันส่วนมากไม่เป็นการพึ่งพิง ร้อยละ 42.53 การพัฒนารูปแบบประกอบด้วย 5 กระบวนการสำคัญ ดังนี้ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติติการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 2) ประเมินและการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายตามมาตรฐาน 3) ปรับปรุงข้อมูลสภาพปัญหาก่อนจำหน่าย 4) พัฒนาระบบการติดตามอาการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย 5) มีระบบสมุดบันทึกสุขภาพผู้ป่วยเพื่อการบริบาลฟื้นฟูสภาพ ภายหลังการพัฒนาพบว่าความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน คะแนนเฉลี่ย ADL เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.12)

References

World Health Organization. World stroke day. Available from: www.worldstrokecampaign.org/media/pages/aboutwordstrokeday2010.aspx.

Burden of Disease Research Program Thailand, International Health Policy Program, Ministry of Public Health. Disability Adjust Life Year: DALY. Nonthaburi province, Thailand; 2014.

Saver JL. Time is brain: Quantified. Stroke 2006; 37(2): 263-266.

Tiamkao S. Stroke fast track. North-Eastern Neuroscience Association. Khon Kaen: Klungnana¬tham; 2012; 50-55.

ไพรวัลย์ พรมที. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น. Journal of Nursing and Health Care. หน้าปีที่ 39 ฉบับที่ 1 : มกราคม - มีนาคม 2564 หน้า 128-137

Techaatik P, Wunsupon S, Sumritrin S. Effectiveness of implementing evidence-based practice for traumatic patients at out-patient of the accident and emergency unit. Journal of Nursing Science & Health 2011; 34(3): 65-74.

รายงานสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง.กลุ่มการพยาบาล. โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. 2567

ยุวดี ผงสา. ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น วารสาร สสจ. ขอนแก่น ปีที่ 2ฉบับที่ 2กรกฎาคม –ธันวาคม2563 หน้า139-153

ศีล เทพบุตร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 ก.ย.-ธ.ค. 63 122-124

ณีรนุช วงค์เจริญ ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์ และ พิสิษฐ์ สมงาม. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 6 ฉบับที่ 04 (2563): ตุลาคม – ธันวาคม. หน้า 61-71

อภันตรี กองทอง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. หน้า 1-11 วารสารศูนย์อนามัยที่ 2 พิษนุโลก

เขมจิรา มิตพะมา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน. โรงพยาบาลเซกา. 2564.

อาคม รัฐวงษา และ อรสา กงตาล. การพัฒนาแนวทางการจัดบริการอย่างต่อเนื่องในชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ของโรงพยาบาลโกสุมพิสัยและเครือข่าย. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น หน้า 670-680

สุดศิริ หิรัญชุณหะ และ คณะ. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจและการมีส่วนร่วม ของครอบครัวและชุมชนต่อการปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษา ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2564 หน้า 115-127

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ภูกิ่งพลอย น. (2024). รูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 828–835. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3480