อัตราการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิว (respiratory distress syndrome : RDS) ก่อนและหลังจัดทำแนวทางการให้สารลดแรงตึงผิวอย่างรวดเร็ว (fast track to surfactant) ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช
คำสำคัญ:
ภาวะหายใจลำบาก, การขาดสารลดแรงตึงผิวบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิต ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตก่อนและหลังจัดทำแนวทางการให้สารลดแรงตึงผิวอย่างรวดเร็ว ศึกษาในทารกเกิดก่อนกำหนดทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัย RDS และได้รับการรักษาด้วยแนวทางการให้สารลดแรงตึงผิวอย่างรวดเร็ว (fast track to surfactant) ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2566 จำนวน 350 คน รวบรวมข้อมูลปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยเสี่ยงทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ และข้อมูลการรักษาด้วย Surfactant วิเคราะห์ข้อมูลด้วย logistic regression และ Multiple logistic regression ในการประเมิน odd ratio โดยค่า p<0.05
ผลการศึกษา: จากจำนวนทารก 350 คน ทารกเสียชีวิตจำนวน 32 คน (13.4%) สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (71.8%) ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจเฉลี่ย 18.88±7.18 วัน ระยะวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 18.64±7.42 วัน ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 52,888±45,312.84บาท ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตก่อนและหลังจัดทำแนวทางการให้สารลดแรงตึงผิวอย่างรวดเร็ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ อายุครรภ์ < 30 สัปดาห์ (OR 4.98, 95%CI 2.09-11.85) มารดามีภาวะ pre eclamsia (OR 9.89, 95%CI 2.32-42.04) การผ่าตัดคลอด (OR 2.28, 95%CI 1.99-5.24) และทารกท่าก้น (OR 1.05, 95%CI 1.01-4.36)
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขสถิติสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. นนทบุรี; 2562.
เจียมรัตน์ ผลาสินธุ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรอดชีวิตและอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย กว่า 1,500 กรัม ในโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2555; 51: 304-13.
ชนิตา พจน์พิศุทธิพงศ์ และ พรมนัส พันธ์สุจริตไทย. ผลของการใช้ surfactant ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น Respiratory distress syndrome ของโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกุมารเวชศาตร์. 2556; 236-41.
นพวรรณ พงษ์โสภา. ผลการรักษาภาวะ Respiratory distress syndrome โดยใช้ Surfactant ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2558; 29: 505-513.
นันทวัลย์ ตันติธนวัฒน์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,000 กรัม ในโรง พยาบาลแพร่. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2555; 51: 296-303.
วไลพร โรจน์สง่า. ผลของการใช้Surfactant ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น Respiratory distress syndrome ของโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2560; 26(1); 56-63.
ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช หน่วยงานกุมารเวชกรรม. รายงานประจําปี 2562-2566. ลพบุรี. โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ; 2566.
สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. Respiratory distress and respiratory distress syndrome.ใน: วราภรณ์ แสงทวีสิน, วิบูลย์ กาณจนพัฒนกุล, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์, บรรณาธิการ.ปัญหาทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2550.
สุดาพร ไพรคณะรัตน์. อัตราการรอดชีวิตและปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยมาก ในโรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการ แพทย์ เขต 6-7. 2553; 24: 601-12.
American Academy of Pediatrics: American College of Obstetricians and Gynecologist. Guidelines for Perinatal Care. 7th Ed. 2012.
Aguar M, Cernada M, Brugada M, Gimeno A, Gutierrez A, Vento M. Minimally invasive surfactant therapy with a gastric tube is as effective asthe intubation, surfactant, and extubation technique in preterm babies.Actapaepiatr. 2014; 103: 229- 33.
Bahadue FL, Soll R. Early versus delayed selective surfactant treatment for neonatal respiratory distress syndrome. Cochrane database of systematic reviews 2012; 14(11).
Bhakta KY. Respiratory distress syndrome. In: Cloherty JP, Eichenwald EC, Hansen AR, Stark AR, editors.Manual of neonatal care. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams. 2012: 406-16.
Chotigeat U, Ratchatanorravut S, Kanjanapattanakul W. Compare severity of bronchopulmonary dysplasia in neonates with respiratory distress syndrome treated with surfactant to without surfactant.J Med Assoc Thai. 2011; 94: 35-40.
Chotigeat U, Promwong N, Kanjanapattanakul W, Khorana M, Sangtawesin V, Horpaopan S.Comparison outcomes of surfactant therapy in respiratory distress syndrome in two periods. JMed Assoc Thai. 2008; 91: 109-14.
Fujiwara T, Chida S, Watabe Y,Maeta H, Morita H, Abe T. Artificial surfactant therapy in hyaline membrane disease. Lancet. 1980; 1: 55-9.
Forsblad K, Kallen K, Marsal K, Hellstrom-Westa - sL. APGAR Score predicts short term outcomes in infants born at 25 gestational weeks. Acta Paediatr. 2007; 96: 166-71.
Halliday HL. Respiratory distress syndrome. In: Greenough A, Milner AD, editors.Neonatal respiratory disorders. 2nd ed. London: Arnold. 2003; 247-64.
Rosen O, Marion RW. Approach to the neonate with congenital anomalies. AAP Textbook of Pediatric Care. Last updated: August 26, 2020.