ผลการใช้การโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาบ้าในชุมชนบ้านแดงใหญ่ ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ผู้เสพยาบ้า, การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยา, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้การโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาบ้าในชุมชนบ้านแดงใหญ่ ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ทำการศึกษาในช่วงเดือน ในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพที่รับผิดชอบงานยาเสพติดและภาคีเครือข่ายยาเสพติดอำเภอพุทไธสง จำนวน 25 คน และ ผู้ป่วยเสพติดยาบ้าในชุมชนบ้านแดงใหญ่ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบดำเนินการสนทนากลุ่ม แบบเก็บข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความร่วมมือการบำบัด แบบประเมินความสงบจากสติบำบัด และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน t-test และเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุที่ใช้ยาบ้าคืออยากลอง ร้อยละ 61.54 สารเสพติดร่วมคือกัญชา ร้อยละ 53.85 การพัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย 10 กระบวนการสำคัญ ดังนี้ 1) ดำเนินการจัดตั้งมินิธัญญารักษ์ในโรงพยาบาล 2) ส่งเสริมความรู้เรี่องยาเสพติดในชุมชนทุกหมู่บ้าน 3) ความเป็นเจ้าของในภาคีเครือข่ายชุมชน 4) พัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืน 5)พัฒนาชุมชนล้อมรักษ์ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 6) รายงานเสนอปัญหาในฝ่ายปกครองอำเภอทุกเดือน 7) ทำการสอนแบบพี่สอนน้องให้พยาบาลรุ่นใหม่ใช้โปรแกรมบำบัดได้ 8) พัฒนาโปรแกรมบำบัดฟื้นฟูให้ทันสมัยอยู่เสมอ 9) ติดตามผู้ผ่านการบำบัดให้ครอบคลุมและจริงจัง 10) ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังพฤติกรรมในชุมชนร่วมกันผลการใช้โปรแกรมพบว่า ระดับความร่วมมือ ระดับความสงบ และระดับความพึงพอใจ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t =5.83, 5.96, 3.68)
References
United Nations Office on Drugs and Crime. World drug report 2022.
United Nations. Yearbook of International Trade Statistics. United Nations: UN Press. 2023.
Burden of Disease Research Program Thailand, International Health Policy Program, Ministry of Public Health. Disability Adjust Life Year: DALY. Nonthaburi province, Thailand; 2021.
รายงานสถานการณ์ผู้เสพยาเสพติด.กลุ่มการพยาบาล. โรงพยาบาลพุทไธสง. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. 2566
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและแนวปฏิบัติที่ดี. นนทบุรี. บริษัท เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด. 2562.
กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพ. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2563.
ณัฐพร ผลงาม. การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดระยอง. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม 2564; 1(2): 49-70.
นุชรีย์ ทองเจิม. การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน. ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2566; 13(2): 17-30.
กรรณิกา สหเมธาพัฒน์. รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ในจังหวัดแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการสาธารณสุขจังหวัดตาก 2566; 1(2): 1-14.