ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ ไชยเพ็ชร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดบาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุทางการจราจร, ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน, รูปแบบ Sensor Plus Model

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร โดยการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ การศึกษาพัฒนารูปแบบ การใช้รูปแบบและประเมินผล โดยศึกษาในทีมพัฒนา ได้แก่ คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน ประชาชนที่เคยได้รับอุบัติเหตุ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกการเกิดอุบัติเหตุ แบบสอบถาม แนวคำถามการระดมความคิดเห็น แบบคัดลอกข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired t-test, Independen t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ปัจจัยเสี่ยงและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนพบผู้ประสบอุบัติเหตุ 1,113 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 66.20 อายุระหว่าง 15-24 ปีร้อยละ 31.90 เวลาเกิดอุบัติเหตุ 16.00-18.00 น.ร้อยละ 18.06 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ร้อยละ 85.50 ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 93.30 ไม่สวมเข็มขัดนิรภัยร้อยละ 62.80 ถนนในหมู่บ้านร้อยละ 51.90 บาดเจ็บเล็กน้อยร้อยละ 78.70 และบาดเจ็บรุนแรงจนเสียชีวิตร้อยละ 21.30 โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านคน ปัจจัยด้านรถ ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม 2) การดำเนินงานวิจัยนี้ได้รูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน Sensor Plus Model 3) ประสิทธิผลรูปแบบ พบว่า หลังการดำเนินงานอัตราการบาดเจ็บ ระดับความรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลงและมีความแตกต่างต่างจากก่อนดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001, p=0.005 และ p=0.003 ตามลำดับ)

References

World Health Organization. World health statistics [Internet]. 2021. [Cited 2023 Oct 22], Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/gho-documents/world-healthstatistic-reports/2021/ whs2021_annex2_20210519.xlsx?sfvrsn=7f635c31_5.

Department of disease control. Report on the quality assessment of data on integration of road accident fatalities [Internet]. 2022. [Cited 2023 Oct 22], Available from:https://ddc.moph.go.th/dip/pagecontent. php?page =575 &dept=dip

Srisuwan, P. Data Quality Assessment Integrating Road Accident Fatalities. Nonthaburi : Department of disease control, 2020;1(1):1-45.

World Health Organization. Global status report on road safety 2018 [Internet]. 2019. [Cited 2023 Oct 22], Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/road-traffic-injuries.

กรมควบคุมโรค. การบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน [ออนไลน์] 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 8]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/ disease_detail.php?d=73.

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน. การจัดการท้องถิ่นชุมชน ถนนปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร. 2560.

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดสกลนคร. รายงานประชาชนประจำปี 2562. กองบูรณาการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. กรุงเทพมหานคร: 2562.

Srisa-art, B. Preliminary Research. Bangkok : Phiriyasan. 2010.

Banchachai, W. Road accidents and problem handling in Thailand. Thai Journal of Emergency Medicine.2023;2(2):187-98.

Academic Center for Road Safety. Local community management safe roads. Bangkok : Academic Center for Road Safety. 2017.

Wichaiwong, T. and Duangsong, R. Factors Associated with Level of Severity in Patients Injured from Road Traffic Accidents Treated at Emergency Department of Wapipathum Hospital in Mahasarakham Province. Journal of Sakon Nakhon Hospital. 2018;21(3):12-21.

Bucsuházy, K., et al. Human factors contributing to the road traffic accident occurrence. Transportation research Procedia. 2020;45(1):555-561

Kamrani, M., Srinivasan, A. R., Chakraborty, S., and Khattak, A. J. Applying Markov decision process to understand driving decisions using basic safety messages data. Transportation Research Part C: Emerging Technologies. 2020;115(1):102642.

Zaidan, R. A., et al. Comprehensive driver behaviour review: Taxonomy, issues and challenges, motivations and research direction towards achieving a smart transportation environment. Engineering Applications of Artificial Intelligence. 2022;111(1):104745.

Klinjun, N., Kelly, M., Praditsathaporn, C. and Petsirasan, R. Identification of Factors Affecting Road Traffic Injuries Incidence and Severity in Southern Thailand Based on Accident Investigation Reports. Sustainability. 2021;13(22):12467.

Azevedo-Sa, H., et al.. How internal and external risks affect the relationships between trust and driver behavior in automated driving systems. Transportation research part C: emerging technologies. 2021;123(1):102973.

Thasai, K., Musikapong P and Pundee R. (2021). Factors Affecting Risk Behaviors of Motorcycle Accidents of High School Students. Safety and Health Journal. 2021; 14(1):50-67

บุญยืน ศรีสว่าง. แนวโน้มอุบัติเหตุทางถนนและความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนน เขตพื้นที่่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11,2561; 32(4):1451-1462.

ภาวิณี เอี่ยมตระกูล และสรารัตน์ ฉายพงษ์. การศึกษาปัจจัยพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน. วารสารชุมชนวิจัย. 2564;15(3): 30-42.

Hammad, H. M., et al. Environmental factors affecting the frequency of road traffic accidents: a case study of sub-urban area of Pakistan. Environmental Science and Pollution Research. 2019;26(12):11674-11685.

Chang, F., Li, M., Xu, P., Zhou, H., Haque, M. M., & Huang, H. Injury severity of motorcycle riders involved in traffic crashes in Hunan, China: a mixed ordered logit approach. International journal of environmental research and public health. 2016;13(7):714.

Ranabir, S., Archana, N., Ipsita, R., Naorem, S., and Prasad, L. Is there a correlation between body mass index and thyroid stimulating hormone. Endocrinol. Int.J. 2019;7(1): 151-154.

ศุภชัย วาสนานนท์, ดลฤดี วาสนานนท์ และนนนน วาสนานนท์. แนวทางการลดอุบัติเหตุทางรถยนต์จากปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 2564;41(5): 86-97.

เศรษฐกาญจน์ ทิพโอสถ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน กรณีศึกษา ถนนศุภสารรังสรรค์ เขตเทศบาลนครหาดใหญ่. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

Office of Noncommunicable diseases. Documentation for reporting death data from road accidents In the meeting of committee on road accident information at the provincial level. Nan : Disaster Prevention and Mitigation Office: 2019.

Malakitsakul, S. Result of D-RTI Plus Model Procedure for Prevention of Injuries and Deaths from Traffic Accidents in Regional Health Area 3. Journal of Disease and Health Risk DPC3. 2020;14(1):25-34.

Sachs, J. D., Kroll, C., Lafortune, G., Fuller, G., and Woelm, F. Sustainable development report 2022. UK : Cambridge University Press: 2022.

ฉัตร์แก้ว ละครชัย. การประเมินการจัดการความปลอดภัยในโรงพยาบาลและความสัมพันธ์กับอัตราความชุกของการเกิดอุบัติเหตุของพยาบาล กรณีศึกษาโรง พยาบาลรัฐแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติกลุ่มระดับชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2558;2(6): 173-187.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ไชยเพ็ชร จ. . (2024). ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 870–882. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3486