การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยเม็ก
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานบทคัดย่อ
การศึกษา การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยเม็ก มีวัตถุประสงค์ . เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยเม็กและความสามารถในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลห้วยเม็ก และศึกษาการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยเม็ก เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน ถึง เดือน ตุลาคม 2567 รวม 2 เดือนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตโรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 15 หมู่บ้าน ๆ ละ 4 คน รวม 60 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยเม็กและความสามารถในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลห้วยเม็ก พบว่า ก่อนดำเนินการโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาจารย์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และระดับความสามารถในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลห้วยเม็ก ก่อนและหลังการดำเนินการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินการ
References
ชัยวรรณี เกาสายพันธ์.(2553). รู้ลึก รู้จริง “อินซูลิน”. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม - สิงหาคม 2565 ยาบาล. ออนไลน์ https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=778
ศูนย์เบาหวานศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.(2563). ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ออนไลน์ https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/admin/knowledges_files/4_44_1.pdf
สิระ กอไพศาล.(2565). การรักษาโรคเบาหวาน ค้นหาสาเหตุและวิธีแก้ไขได้ที่นี่. ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ออนไลน์ https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/diabetes-treatment-guidelines/
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.(2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 25 มีเดียจำกัด; 2563.
กระทรวงสาธารณสุข.(2566). ฐานข้อมูล HDC https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd
ศิริวิมล ปัญญาผล.(2566). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต่องานสาธารณสุขท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวโพ. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและการจัดการ) สาขาวิชาการเมืองและการจัดการ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ณัฐชรัตน์ ณภัทรธัญธนากุล.(2567). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. รายงานวิจัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.(2566). ฐานข้อมูล HDC https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd#
Best, J.W. (1991). Research in education (8th ed.). New Delhi: V. k. Batra at Peart officer Prees.
ปริญญา มาลัยเปีย มนัสศิริ ยิ้มถนอม.(2567). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของผู้นำชุมชน จังหวัดนครปฐม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม – กุภาพันธ์ 2567. 481-88
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.(2559). คูมืออาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) กลุ่มดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื่องรัง (NCDs) พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2560, พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.