รูปแบบการป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำ, ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การศึกษา รูปแบบการป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การกลับเป็นโรคซ้ำของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง และศึกษารูปแบบการป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนมกราคม 2567 ถึง เดือน กันยายน 2567 รวม 9 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือนมกราคม 2567 ถึง เดือน กันยายน 2567 รวม 9 เดือน จำนวน 23 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า ความพร้อมของผู้ป่วย STROKE ในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความพร้อมของผู้ป่วย STROKE ในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังการดำเนินการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงาน ระดับความพร้อมของผู้ป่วย STROKE ในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินการและมีผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลับมาเป็นโรคเลือดสมอง ซ้ำ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.35
References
สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ.(2565). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือด
สมอง หรือวันอัมพาตโลก 2565 สืบค้นจาก https://www.prd.go.thวันที่สืบค้น10 พฤศจิกายน 2565
สุจิตรา คุ้มสะอาด วีณา เที่ยงธรรม เพลินพิศ สุวรรณอำไพ.(2560). ปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. พฤษภาคม - สิงหาคม 2560 ปีที่ 31 ฉบับพิเศษ
สุรศักดิ์ วิชัยโย.(2564). บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ยาต้านเกล็ดเลือด รู้ไว้...ปลอดภัยเมื่อใช้ยา. ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ออนไลน์ https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/560/ยาต้านเกล็ดเลือดรู้ไว้/
จุฑาทิพย์ เทพสุวรรณ์. (2561). ผลของโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย, 17(1), 6-15.
Best, J.W. (1991). Research in education (8th ed.). New Delhi: V. k. Batra at Peart officer Prees.
เบญจมาภรณ์ ชูช่วย.(2567). การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 56-67
สุธีร์ ธรรมิกบวร.(2564). การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย.การปรับกระบวนทัศน์. กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพลส จำกัด.
Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, Adeoye OM, Bambakidis NC, Becker K, Biller J, Brown M, Demaerschalk BM, Hoh B, Jauch EC, Kidwell CS, Leslie-Mazwi TM, Ovbiagele B, Scott PA, Sheth KN, Southerland AM, Summers DV, Tirschwell DL. (2019) Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke: 2019 Update to the 2018 Guidelines for the Early Management of Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke. 2019 Dec;50(12):e344-e418. doi: 10.1161/STR.0000000000000211. Epub 2019 Oct 30. Erratum in: Stroke. 2019 Dec;50(12):e440-e441. doi: 10.1161/STR.0000000000000215. PMID: 31662037.
สวาท วันอุทา.(2566). ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับ ความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสื่งแวดล้อมศึกษาปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2566. 142-151
คนึงนิจ ศรีษะโคตร พจนีย์ ขูลีลัง เบญจพร เองวานิช บุญมี ชุมพล สุวัลยา ศรีรักษา.(2565). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายแบบบูรณาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาการพยาบาล 2565; 37(3) 20-43