การพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3a ในชมรมผู้สูงอายุต้นแบบจังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ลดาวัลย์ มาลัยเจริญ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง

คำสำคัญ:

การดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง, การจัดการตนเอง, โรคไตเรื้อรังระยะ 1-3a

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้การพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3a ในชมรมผู้สูงอายุต้นแบบจังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย สหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย จำนวน 32 คน และ ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรัง จำนวน 70 คน ทำการศึกษาระหว่าง ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2566-มิถุนายน 2567 รวมระยะเวลา 14 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวคำถามปลายเปิด Focus group เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบเก็บข้อมูลทั่วไป, แบบเก็บข้อมูลทางคลินิกจากแถบสี, แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเอง สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรนณา และ สถิติเชิงอนุมานในการเปรียบเทียบก่อนหลัง t-test
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.43 ส่วนมากอยู่ในช่วง 71- 80 ปี ร้อยละ 50.00 (Mean=74.26, Min=61, Max=81) อาชีพส่วนมากทำงานบ้าน ร้อยละ 65.71 ประถมศึกษา ร้อยละ 64.29 โรคร่วมพบโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60.00 อาการที่พบคือนอนไม่หลับ ร้อยละ 92.86 อัตราการกรองของไตอยู่ในช่วง 60-89 eGFR ร้อยละ 78.57 รับประทานอาหารรสเค็ม ร้อยละ 77.14 คะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุพบว่าคะแนนเฉลี่ยดีขึ้นจาก 3.47 คะแนนเป็น 4.63 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, t=6.42 (Mean difference = 1.16; 95%CI=3.52-8.26)

References

aimon T. Kelly et al. A Coaching Program to Improve Dietary Intake of Patients with CKD. CJASN.2020, 15, 330-340.

Lee, Y., & Chang, P. (2016). Modeling a Model Health Management Business Model for Chronic Kidney Disease. Nursing Informatics, 1047-1048. doi: 10.3233/978-161499-658-3-1047.

Ali, B., & Gray-Vickrey, P. Limiting the damage from acute kidney injury. Nursing, quiz 32. doi:10.1097/01. 2015, 41(3),22-31.

Creer,T. L.Self-management of chronic illness. InM.Boekaerts,P.R.Pintrich, & M. Zeidner (Eds.), Handbook of self-regulation. California: Academic Press 2014, 15(3),601-609.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2568. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2559.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)กลุ่มกูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (CKD). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2560.

Klein, M., Mogles, N., & Van Wissen, A. Intelligent mobile support for therapy adherence and behavior change. Journal of Biomedical Informatics 2014, 51, 137-151.

โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2566.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. G*Power 3: A flexible statistical Power analysis program for the social behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007, 39(2), 175-191.

ลดาวัลย์ มาลัยเจริญ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองโดยใช้แถบสีสื่อสาร ต่อความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1 – 3a. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564, 4(3),109-122.

อรวรรณ อยู่สุวรรณ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงในชุมชนชนบท ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์]. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุขโขทัยธรรมมาธิราช. จังหวัดนนทบุรี. 2564.

กุลลดา เลียวเสถียรวงค์ และ ปทมพร อภัยจิตต์. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2566, 38(3),605-616.

เสาวนีย์ กระแจะจันทร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กบพฤตกรรมการจดการตนเองของผปวยโรคไตเรอรงระยะท 1-3 จังหวัดตราด [วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์]. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. จังหวัดชลบุรี. 2560.

รจนา มังคลรังสี. การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มีภาวะแทรกซ้อนในชุมชน:กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2565, 2(2),71-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

มาลัยเจริญ ล. . (2024). การพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3a ในชมรมผู้สูงอายุต้นแบบจังหวัดอ่างทอง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 917–926. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3491