การประเมินผลการดำเนินงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ 20 ปี เพื่อยกระดับสู่การเป็นผู้นำด้านการแพทย์ดั้งเดิมของเอเชีย ในปี 2570
คำสำคัญ:
การประเมินผล, มหกรรมสมุนไพร, การแพทย์แผนไทย, การแพทย์ดั้งเดิม, CIPP Model, PMQAบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และประเมินผลการดำเนินงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ 20 ปี เพื่อให้ได้แนวทางยกระดับการดำเนินงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติสู่การเป็นผู้นำด้านการแพทย์ดั้งเดิมของเอเชียในปี 2570 งานวิจัยนี้เป็น Mixed Methods โดยข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ที่เข้าร่วมงานมหกรรมฯ ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2566 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี และข้อมูลประเมินผลจากรายงานผลการการดำเนินงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 1 -19 การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติใช้วิธีไค-สแควร์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้กรอบการบริหารจัดการภาครัฐรวบรวมผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ 20 คนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและการจัดงาน โดยวิเคราะห์เนื้อหาจากการศึกษาและประเมินผลการดำเนินงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ 20 ปี ทั้งปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านผลผลิต ผลลัพธ์
ผลวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จ คือ (1) ความร่วมมือจากหลายฝ่าย (2) การสนับสนุนจากนโยบายรัฐบาล (3) นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ (4) การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และ (5) ธีมงานและกิจกรรมที่ดึงดูดตรงกับกระแสสังคม นำไปสู่ข้อค้นพบแนวทางการยกระดับสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำด้านการแพทย์ดั้งเดิมของเอเชียในปี 2570 6 ด้าน ดังนี้ (1)ด้านการนำองค์กร มุ่งเน้นการสร้างมาตรฐานในระดับสากล ส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภาคเอกชนขับเคลื่อน และขยายความสำคัญการแพทย์แผนไทยและอาหาร (2)ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ใช้กลยุทธ์ยกระดับความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการเงิน ธนาคารต้องมีแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว และการสื่อสารเชิงรุก เช่น Road Show ในต่างประเทศ (3)ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเน้นที่การจับคู่ธุรกิจ การดึงดูดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ เช่น สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และ SME การจัดนิทรรศการและกิจกรรมที่หลากหลาย รวมถึงจัดงานในสถานที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติและสุขภาพ (4) ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ เน้นการใช้เทคโนโลยี AI และ Big Data เพื่อวิเคราะห์ผู้บริโภคและตลาด ใช้ข้อมูลยอดขายและผลการเจรจาธุรกิจเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม (5)ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล พัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีความรู้ ทักษะและมุมมองภาคธุรกิจในด้านการตลาด การเจรจาธุรกิจ การใช้เทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการส่งบุคลากรฝึกอบรมในต่างประเทศเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการวิจัย (6) ด้านการจัดการกระบวนการ เน้นการจับคู่ธุรกิจการจัดการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และการติดตามผล ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
References
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 -2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 140 ตอนพิเศษ 51 ง,หน้า 4; 6 กุมภาพันธ์ 2566.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 258 ง, หน้า 1; 24 ตุลาคม 2565.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570[อินเทอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565. เข้าถึงได้จาก:https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/news/dtam-news/7816-pr1463.html
กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)
Cronbach WG. Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons Inc; 1977.
วรเดช จันทรศร, ไพโรจน์ ภัทรนรากุล. การประเมินผลในระบบเปิด. กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำราสมาคมรัฐประศาสตร์ นิด้า; 2541.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ. การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ [อินเทอร์เน็ต].สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.opdc.go.th/content/Nzc
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. รายงานผลการจัดงาน “มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 1” การประชุมวิชาการและงานชุมนุมการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 1. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก2547;2(3):90-104.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. รายงานผลการจัดงาน “มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 2”.
ประพจน์ เกตรากาศ, อภิญญา ตันทวีวงศ์, รัชนี จันทร์เกษ. สรุปรายงาน งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่3. กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2549.
ประพจน์ เภตรากาศ, รัชนี จันทร์เกษ, อภิญญา ตันทวีวงศ์. สรุปรายงาน งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.
ประพจน์ เภตรากาศ, รัชนี จันทร์เกษ, อภิญญา ตันทวีวงศ์. สรุปรายงาน งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
ประพจน์ เภตรากาศ, รัชนี จันทร์เกษ, อภิญญา ตันทวีวงศ์, และคณะ. สรุปรายงานงานมหกรรมสมุนไพร กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.
ประพจน์ เภตรากาศ, รัชนี จันทร์เกษ, อภิญญา ตันทวีวงศ์, และคณะ. สรุปรายงานงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.
ประพจน์ เภตรากาศ, รัชนี จันทร์เกษ, อภิญญา ตันทวีวงศ์, และคณะ. สรุปรายงานงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.
วงเดือน จินดาวัฒนะ, รัชนี จันทร์เกษ, อภิญญา ตันทวีวงศ์, และคณะ. สรุปรายงานงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2556.
วงเดือน จินดาวัฒนะ, อภิญญา ตันทวีวงศ์, สุพินดา กิจทวี, และคณะ. สรุปรายงานงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2557.
ผลิดา สนธิ์สุวรรณ, สุพินดา กิจทวี, รัตนา พงษ์วานิชอนันต์, และคณะ. สรุปรายงานงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.
ผลิดา สนธิ์สุวรรณ, ชัยวัฒน์ จงรอดน่วม, รัชนี จันทร์เกษ, รัตนา พงษ์วานิชอนันต์, และคณะ. สรุปรายงานงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.
กองพัฒนาและบริการวิชาการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. สรุปรายงาน งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 13. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.
กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. สรุปรายงานงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 14. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.
อัญชลี จูฑะพุทธิ, รัชนี จันทร์เกษ, บรรณาธิการ. สรุปรายงาน งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ:บริษัท แกรนด์พ้อยท์ จำกัด; 2561.
รัชนี จันทร์เกษ, ดวงแก้ว ปัญญาภู. สรุปรายงาน งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: บริษัท แกรนด์พ้อยท์ จำกัด; 2562.
รัชนี จันทร์เกษ, สุพิญญา เกิดโถ, ดวงแก้ว ปัญญาภู. สรุปรายงาน งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 17.กรุงเทพฯ: พุ่มทอง; 2564.
รัชนี จันทร์เกษ, มนทิพา ทรงพานิช, สุพิญญา เกิดโถ, ดวงแก้ว ปัญญาภู. สรุปรายงาน งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: พุ่มทอง; 2565.
รัชนี จันทร์เกษ, มนทิพา ทรงพานิช, สุพิญญา เกิดโถ, ดวงแก้ว ปัญญาภู. สรุปรายงาน งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: พุ่มทอง; 2565.
วิทยา ไชยเทพ. การประเมินผลการด าเนินงานโครงการธนาคารหมู่บ้านป่าไผ่กลาง หมู่ 7 ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. การประเมินผลการจัดงาน OTOP City ครั้งที่ 5 วันที่ 14 - 21 ธันวาคม 2550 [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/587463; 2551.
ชลอรัตน์ ศิริเขตรกรณ์. ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมในการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2562;13(2):111-122.
อลงกต แผนสนิท. การนำนโยบายไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดนครราชสีมา[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2557.
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. ประกาศผลรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจ าปีงบประมาณ 2566 [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.nrct.go.th/fund
คณะกรรมการอ านวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ. รายงานการประเมินผล “มหกรรม หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม - วันที่ 2 มิถุนายน 2545 [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567. เข้าถึงได้จาก: https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/417156
กองบรรณาธิการ Online newstime. ผลจัดงานแสดงสินค้าอาหาร THAIFEX-ANUGA ASIA 2023 [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้น 23 พ.ค. 67. เข้าถึงได้จาก: https://www.onlinenewstime.com/the-result-of-the-food-exhibition-thaifex-anuga-asia-2023-money-flowing-over-120k-million-baht/pr-
news/
ทอง พันทอง. การประเมินประสิทธิผลโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า: กรณีศึกษาศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.
ฤทธิรงค์ อัญจะนะ, วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือกของคนไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 2559; 17(2): 70-83.
นวพร แสงหนุ่ม. ประสิทธิผลในการด าเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.
สรวิชญ์ เปรมชื่น. คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระบบราชการไทย. วารสารสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน.2559; 9(1): 38-57.
กฤษฎา มอมุงคุณ, บุหงา ชัยสุวรรณ. กระบวนการสื่อสารและการสร้างการยอมรับการแพทย์แผนไทย.วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า 2558;1(3):37-58.