การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับท้องถิ่น อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, อุบัติเหตุทางถนน, คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนระดับท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ ภาวะผู้นำ การรับรู้บทบาท และการมีส่วนร่วม 2) เพื่อสร้าง “รูปแบบการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน” ของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน (Inferential statistic) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยใช้ Repeated-measures ANOVA กาหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า จากระยะที่ 1 และ 2 มีรูปแบบในการดำเนินการพัฒนา จานวน 7 กิจกรรม คือ 1) การทำงานร่วมกันเป็นทีม 2) ฝึกการการสื่อสาร 3) ฝึกการเรียนรู้พัฒนาบุคคลและทีมงาน (Life Position) 4) กลุ่มสัมพันธ์ 5) ฝึกการบริหารความขัดแย้ง 6) ฝึกการคิดต่างกันสร้างสรรค์องค์การ และ 7) กิจกรรมพี่เลี้ยง ซึ่งผลที่ได้จากระยะที่ 3 หลังการทดลอง พบว่าจากการพัฒนาภาวะผู้นำ การรับรู้บทบาท และการมีส่วนร่วม ส่งผลให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับท้องถิ่น เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และรูปแบบที่พัฒนาขึ้นส่งผลลัพธ์โดยตรงที่ทำให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนระดับท้องถิ่นลดลง
References
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม. แผนแม่บทด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน พ.ศ. 2559–2563. 2561.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. การบริหารงานยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2547.
นภัสวรรณ ปานเหง้า. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาหมู่บ้านเต่า-บ้านกอก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระ (บธ.ม.) สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยา การจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล;2527.
พรนพ พุกกะพันธ์. ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2544.
ปรีชา วิหคโต และคณะ. การวิเคราะห์ลักษณะสาเหตุและแนวทางป้องกันอุบัติเหตุในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา:รายงานการวิจัย สานักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี; 2540.
ยงยุทธ เกษสาคร. ภาวะผู้นาและการทางานเป็นทีม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ จีโอกราฟฟิก; 2545.
วิเชียร มุริจันทร์. พฤติกรรมของผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจรในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
สมศักดิ์ ขาวลาภ. ภาวะผู้นำ การจูงใจ และทีมงาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวน; 2544.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. รายงานการวิเคราะห์อุบัติเหตุทางถนนประจาปี 2560. กรุงเทพฯ:สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร; 2561.
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจาปี 2561. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. งานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด; 2565.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. รายงานประจาปี 2565. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข; 2566.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ. รายงานประจาปี 2565. จังหวัดบึงกาฬ; 2566.
Cohen A, Uphoff N. Effective behavior in organizations. New York: Richard D. Irwin Inc; 1980.
Cronbach LJ. Essentials of psychological testing. New York: Harper and Row; 1970.