การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองเพื่อส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตตามแนวทางของ WHO ในจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐนิชา วารีสมาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย, แบบประคับประคอง, จังหวัดปัตตานี

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองตามแนวทาง ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การ วิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหา 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการดูแลที่เหมาะสม และ 3) การ ประเมินผลการใช้งานรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยผู้ป่วยระยะท้ายจำนวน 30 คน ครอบครัวและผู้้ดูแล 30 คน บุคลากรทางการแพทย์ 15 คน และผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ Paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่า ในขั้นตอนที่ 1 สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในปัจจุบันมีปัญหาหลัก ได้แก่ การขาดความรู้พื้นฐานของผู้ดูแล การขาดแคลนทรัพยากรในระบบบริการสุขภาพ ความไม่ สอดคล้องในการประสานงานระหว่างหน่วยงานและครอบครัว การขาดการสนับสนุนด้านจิตใจ การเข้าถึง บริการสุขภาพที่ไม่ทั่วถึง และการขาดการฝึกอบรมขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการดูแลประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การเพิ่มพูนความรู้ผู้ดูแล การจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอ การสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์ การสนับสนุนทางจิตใจ และการใช้เทคโนโลยีติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง และ ขั้นตอนที่ 3 ผลการ ประเมิน พบว่า ผู้ป่วยและครอบครัวมีความพึงพอใจในระดับสูง และผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P-Value < .01)

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานการคาดการณ์ประชากรสูงอายุในประเทศ ไทย 2020 - 2040 เรียกใช้เมื่อ 3 เมษายน 2567 จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=index

World Health Organization. (2018). Integrating Palliative Care and Symptom Relief into National Systems: A WHO Guide. Geneva: WHO Press.

Thomas, L. (2017). Training healthcare professionals in palliative care: The need for specialized programs in developing countries. Global Health Journal, 22(3), 121-134.

Chindaprasirt, J. et al. (2019). The development of a palliative care system in rural areas of Thailand: Challenges and solutions. Journal of Medicine and Community Health; 45(2), 123-136.

Rifaat, H. (2021). Palliative care in the context of Islam: A case study of Pattani Province. Journal of Islamic Medical Studies, 32(1), 85-92.

Sukprasert, S. et al. (2019). Development of a palliative care model in conflict-affected areas: A case study of Thailand’s southern border provinces. Journal of Community Health Sciences, 53(3), 215-228.

Johnson, R. & Smith, A. (2021). Addressing healthcare workforce shortages in rural settings: Strategies for improvement. International Journal of Health Policy and Management, 14(1), 45-60.

Jones, P. (2018). Palliative care in conflict zones: Addressing challenges in resource-limited settings. International Journal of Palliative Nursing, 24(6), 290-298.

Patel, R. (2020). Integrating spiritual care into palliative care for diverse populations: A cultural approach. Journal of Palliative Care and Social Work, 18(2), 75-88.

Watson, J. (1988). Nursing: Human science and human care. Jones & Bartlett Learning.

Sirimongkol, P. et al. (2020). Challenges in palliative care in rural areas of Thailand: A case study of Pattani Province. Journal of Rural Health and Medicine, 58(4), 256-270.

Glanz, K. & Bishop, D. B. (2010). The role of behavioral science theory in development and implementation of public health interventions. Annual Review of Public Health; 31(1), 399-418.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

วารีสมาน ณ. (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองเพื่อส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตตามแนวทางของ WHO ในจังหวัดปัตตานี . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 28–39. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3515