การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ธัญญรัตน์ นาพรมเทพ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด กรณีศึกษา 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง คัดเลือกจากผู้ป่วยที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลโนนศิลา ช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคม 2667 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ รวมถึงการติดตามเยี่ยมบ้าน โดยใช้แนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ทำการรวบรวม สรุป นำสู่การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
     ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 62 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการไอมีเสมหะและน้ำหนักลด มีโรคร่วมคือ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เข้าเกณฑ์ 7 กลุ่มเสี่ยงที่ต้องคัดกรองวัณโรค แพทย์ส่งตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก และตรวจเสมหะ sputum AFB x III days พบว่าNot found ผลตรวจเสมหะ Sputum gene Expert พบว่า MTB detected จึงได้วินิจฉัยโรคเป็น Pulmonary Tuberculosis ได้รับยาวัณโรคสูตร 2 HRZE/4HR คัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้าน กำกับการรับประทานยาวัณโรคปอด (DOT) เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากยา ติดตามเยี่ยมบ้าน ผลการรักษา 6 เดือน ตรวจเสมหะ sputum AFB ผลการตรวจไม่พบเชื้อวัณโรคปอด แพทย์พิจารณาจำหน่ายออกจากคลินิกวัณโรค กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 65 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการ ไอมีเสมหะ มีไข้ตอนกลางคืน มีโรคร่วมคือ โรคความดันโลหิตสูง แพทย์ส่งตรวจ sputum AFB x III days พบว่า Not found ผลตรวจเสมหะ Sputum gene Expert พบว่า MTB detected จึงได้วินิจฉัยโรคเป็น Pulmonary Tuberculosis ได้รับยาวัณโรคสูตร 2 HRZE/4HR คัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้าน กำกับการรับประทานยาวัณโรคปอด (DOT) เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากยา ติดตามเยี่ยมบ้าน ผลการรักษา 6 เดือน ตรวจเสมหะ sputum AFB ผลการตรวจไม่พบเชื้อวัณโรคปอด แพทย์พิจารณาจำหน่ายออกจากคลินิกวัณโรค

References

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. กองวัณโรค.การบริหารจัดการค้นหาและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง สำหรับผู้สัมผัสวัณโรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไชน์; 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. กองวัณโรค.แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไชน์; 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. กองวัณโรค. สถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ.2562-2566. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไชน์; 2567.

กลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลโนนศิลา.รายงานข้อมูลสถิติผู้ป่วยวัณโรค 2564-2566 ขอนแก่น: โรงพยาบาลโนนศิลา. 2566.

กุสุมา สว่างพันธุ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่จังหวัดภูเก็ต. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564; 9(3) : 317-329.

จินตนา โพธิ์ตาก. การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด : กรณีศึกษา 2 ราย.วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ.2566;4(3)268-279.

พชรพร ครองยุทธ, เจษฎา สุราวรรณ์,สุภัควดี ธนสีลังกูร,ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตรา ความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564; 14(3).

วิศณุ นันทัยเกื้อกูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยด้วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มารับบริการที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2564; 28(2) : 53-62.

สุวิจักขณ์ เจนปิยพงษ์, ชมพูนุช เพชรวิเศษ, ณัฐฐิตา เพชรประไพ, ศรัญญา จุฬารี. การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดใน ระยะกำเริบและระยะพักฟื้น : กรณีศึกษา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2566;41(2)1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

นาพรมเทพ ธ. (2024). การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 978–985. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3526