ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนู ของเกษตรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ เกิดผล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาบบอน สำนักงาสาธารณสุขอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเรียนรู้, โรคฉี่หนู, เกษตรกร

บทคัดย่อ

     การศึกษาเรื่องประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบสองกลุ่ม ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 52 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายจำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน ดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกรกฎาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเรียนรู้การป้องกันโรคฉี่หนูในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง และแบบสอบถามความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนู วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแตกต่างของความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรม ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Paired sample t-test และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้เรื่องโรคฉี่่หนููระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Independent sample t-test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่่ 0.05
     ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มที่ได้รับความรู้ตามปกติ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน หลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 46.86 (S.D.=3.48) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีคะแนนเฉลี่ย 38.56 (S.D.=3.77)

References

อารยา ปรานประวิตร และคณะ. [อินเตอร์เน็ต]. ประสิทธิผลของสื่อให้ความรู้เรื่องโรคฉี่หนู: กรณีศึกษา เกษตรกร ในตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. 2565. เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค.2567. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/HSJT/article/view/254009

สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. 2566. เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค.2567. เข้าถึงได้จาก http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=43.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. รายงาน 506. 2566. โปรแกรม R506. เข้าถึงเมื่อ 31 ม.ค.2567

องค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี. [อินเตอร์เน็ต]. ข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะทางเศรษฐกิจ. 2567. เข้าถึงเมื่อ 31 ม.ค.2567. เข้าถึงได้จาก http://www.namuensi.go.th/general2.php.

Piaget J. The Psychology of Intelligence. New York: Routledge; 1950. อ้างถึงในอารยา ปรานประวิตร และคณะ. 2564. ประสิทธิผลของสื่อให้ความรู้เรื่องโรคฉี่หนู: กรณีศึกษา เกษตรกรในตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

เกิดผล ป. (2024). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนู ของเกษตรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 60–67. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3529