ผลของโปรแกรมการสอนงานต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้แต่ง

  • อานนท์ สังขะพงษ์ อาจารย์สาขาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Corresponding author
  • ฐพัชร์ คันศร อาจารย์ ดร. สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์
  • นนทกร ดำนงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศรฉัตร แดงกระจ่าง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเกาะจันทร์

คำสำคัญ:

การสอนงาน, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนงานต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มผู้เป็นโรคเบาหวานที่เสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่ม วัดสองครั้งก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง (Two group pretest-posttest design) ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งหมด 58 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 29 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนงาน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วย เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองชนิดพกพา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบด้วยสถิติไค-สแควร์ (Chi-square test) สถิติที (Independent t-test)
     ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารมากกว่ากลุ่มควบคุม และค่าผลต่างเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) ลดลงต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.22, p<.001 และ t = 2.67, p<.001) ตามลำดับ

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas, 10th ed. Brussels, Belgium: International Diabetes Federation [Internet]. 2021. [cited 2024 Oct. 12]. Available from: https://diabetesatlas.org/idfawp/resourcefiles/2021/07/IDF_Atlas_10th_Edition_2021.pdf.

Yang H, Young D, Gao J, Yuan Y, Shen M, Zhang Y, Sun X. Are blood lipids associated with microvascular complications among type 2 diabetes mellitus patients? A cross-sectional study in Shanghai, China. Lipids in health and disease 2019; 18(1): 1-9

Galicia-Garcia U, Benito-Vicente A, Jebari S. et al. Pathophysiology of Type 2 Diabetes Mellitus. International Journal of Molecular Sciences. 2020;21(17):6275.

สายฝน ม่วงคุ้ม, พรพรรณ ศรีโสภา, วัลภา คุณทรงเกียรติ, ปณิชา พลพินิจ, วิภา วิเสโส, ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส, และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2020;28(2): 74-84.

Elisa C, Antonio C, Lars R, Marc F, Tina B, Oliver S, at el. Diabetes as a cardiovascular risk factor: An overview of global trends of macro and micro vascular complications. European Journal of Preventive Cardiology. 2019; 26(2):25–32.

กรมควบคุมโรค. โรคหัวใจและหลอดเลือด: สาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 15 ต.ค. 2567]; เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?deptcode=brc&news =37372.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุขประจำปี พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 15 ต.ค. 2567]; เข้าถึงจาก: https://spd.moph.go.th/public-health-statistics/

สุธิดา แก้วทา, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า และอรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

Jiménez CC, Iglesias P, Ribalta J, Vilariño GT, Montañez L, Arrieta F, et al., On behalf of the cardiovascular disease working group of the Spanish society of diabetes sed. nutrients and dietary approaches in patients with type 2 diabetes mellitus and cardiovascular disease: A Narrative Review. Nutrients 2021;13(11): 4150.

พรสวรรค์ อิมามี, นิรัตน์ อิมามี, ยุวดี รอดจากภัย และนิภา มหารัชพงศ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในการควบคุมน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารสุขศึกษา 2563; 43(2):78-91.

Spross JA. Expert coaching and guidance. In A. B. Hamric, J. A. Spross, & C. M. Hanson (Eds.), Advanced practice nursing: An integrative approach (4th ed.; pp. 159-190). St. Louis: Elsevier Saunders. 2009.

กิติยากร คล่องดี, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช และธราดล เก่งการพานิช. ผลของโปรแกรมฉลาดบริโภคโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2562; 25(3): 326-339.

Polit DF. and Beck CT. Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. 8th Edition, Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, Philadelphia; 2008.

Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

Grove K, Burns N, Gray R. The Practice of Nursing Research: Appraisal, Synthesis, and Generation of Evidence (7th ed.). St. Louis, MO: Elsevier; 2013.

Stanley L, David WH, Janelle K, Stephen KL. Adequacy of sample size in health studies. Chichester: John Wiley & Sons; 1990.

Ismail FKM, Zubairi AMB. Item objective congruence analysis for multidimensional items. English Language Teaching 2022; 15(1):106-117.

จินต์ทิพา ศิริกุลวิวัฒน์ และรุ้งระวี นาวีเจริญ. ที่ศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562; 31(2):10-22.

วงศ์จันทร์ นุตเวช. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลบ้านโคก. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข 2024;2(2): 68-78.

อรุณี ส่องประเสริฐ, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. ผลการชี้แนะต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ในชุมชน อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2563; (31)1: 61-71.

จุรีพร คงประเสริฐ, สุมนี วัชระสิน และณัฐธิวรรณ พันธ์มุง. การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

ชัชวาลย์ เผ่าเพ็ง, สุลัดดา พงษ์อุทธา, สุพล ลิมวัฒนานนท์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, สุรศักดิ์ ไชยสงค์, กัญจนา ติษยาธิค, และคณะ. ความแตกต่างของพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรไทย: ลักษณะประชากร เศรษฐกิจและสังคมและสถานะสุขภาพส่งผลอย่างไร. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560;11(3): 316-326.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

สังขะพงษ์ อ. ., คันศร ฐ. . ., ดำนงค์ น. ., & แดงกระจ่าง ศ. . (2024). ผลของโปรแกรมการสอนงานต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 68–79. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3532