การพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวปฏิบัติ , การเยี่ยมบ้าน , ผู้ป่วยจิตเวช, การมีส่วนร่วมในชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน และศึกษาผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง PDCA คือ PLAN: การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช ออกแบบแผนการดูแล DO: ประชุมเชิงปฏิบัติการและการระดมสมองร่วมกับการมีส่วนร่วมในชุมชน CHECK: ประเมินผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติฯ ACTION: นำผลมาวิเคราะห์ตรวจสอบอุบัติการณ์ผลของการใช้แนวปฏิบัติฯ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ 1). ผู้ให้บริการคือ พยาบาลจำนวน 8 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนจำนวน 22 คน 2). ผู้รับบริการคือ ญาติและผู้ป่วยจิตเวชจำนวน 6 คน ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2565 – ตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วม แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชสำหรับพยาบาล แบบประเมินความรู้ผู้ป่วยจิตเวชของผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ
ผลการวิจัย ได้แนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ที่ประกอบไปด้วย 1.แบบประเมินสำหรับพยาบาล ดังนี้ 1).แบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 2). แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง 3). แบบประเมินซึมเศร้าฆ่าตัวตาย 4). แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน 2. แบบประเมินสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน และญาติ ดังนี้ 1). แบบประเมินอาการทางจิตกำเริบ 2). แบบประเมิน 7 สัญญาณเตือนที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง ผลลัพธ์หลังการใช้แนวปฏิบัติฯ พบว่า 1) ผู้ให้บริการ คือ พยาบาล หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ มีความรู้การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .002 ความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ มากกว่าค่าเป้าหมายร้อยละ 80 อยู่ในระดับมากที่ร้อยละ 92.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .002 ผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน หลังการพัฒนามีความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ อยู่ในระดับมากที่ร้อยละ 84.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้รับบริการ คือ ญาติ หลังการพัฒนามีความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 91.33 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .02 และอุบัติการณ์หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ (กค.-ตค.66) พบอุบัติการณ์ลดลงมีจำนวน 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 16.66
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต แบบไร้รอยต่อและบูรณการในพื้นที่. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2563.
กรมสุขภาพจิต. ระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทพรอสเพอรัสพลัสจำกัด; 2563.
ชลินดา จันทร์งาม. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของเครือข่ายสุขภาพจิตโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตําบลคํานาดีอําเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2560.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนแสงจันทร์การพิมพ์; 2559.
Cohen, Jhon M. and Norman, T. Uphoff. Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design. Implement and Evaluation. New York: McGraw-Hill; 1980).
Deming W. E. The New Economics: for Industry, government, education. Cambridge MA: Center for Advanced Educational Services : Massachusetts Institute of Technology; 2000.
Vroom, V. H. Work and motivation. New York: John Wiley & Sons; 1964.
Benjamin, S Bloom.. Learning for mastery. Evaluation comment. Center for the study of instruction program. University of California at Los Angeles 1986; 2:47-62.
บุญใจ ศรีสถิตนรากุล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ; ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2555.
แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข.[อินเตอร์เน็ต].2566 [สืบค้นเมื่อ18 ต.ค. 66]. เข้าถึงจาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/ uploads/2023/05/edit-ops_plan-66-70-for-web.pdf
แผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) [อินเตอร์เน็ต].2566 [สืบค้นเมื่อ18 ต.ค. 66]. เข้าถึงจาก: https://spd.moph.go.th/wp- ontent /uploads/2023/05/E-book-Indicators-66-revised_11.pdf
นิจพร สว่างไธสง. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559; 1:60-71.
สุกัญญา ละอองศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอนสวรรค์ ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
วิวรรธน์ วงศ์ตา. การพัฒนาสมรรถนะทีมพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง โรงพยาบาลวังยาง จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2560; 2:68-76.
ทัศนีย์ เชื่อมทอง อารีรัช จำนงค์ผล และกรรัตน์ ทองช้อย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ ซึมเศร้า ในกลุ่มโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2565; 2:152-173.