ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสำนักอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ คำโสภา วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อารี บุตรสอน อาจารย์ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Corresponding author

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย , ผู้ปกครอง, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสำนัก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง ได้แก่ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสำนัก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 31 คน กลุ่มเปรียบเทียบ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนหนองยางหนองม่วง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 27 คน รวม 58 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่าง 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
     ผลการศึกษาพบว่า ผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ทัศนติต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก การรับรู้ความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพช่องปาก การรับรู้ความรุนแรงของปัญหาสุขภาพช่องปาก การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพช่องปาก การรับรู้อุปสรรคในการดูแลสุขภาพช่องปาก แรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพช่องปาก และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

World Health Organnization. Global Status Report on Oral Health 2022. Geneva: World Health Organization, 2022.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย (2560). รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย, 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. สรุปผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ตามกลุ่มอายุ. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ, 2561.

เทศบาลเมืองศรีสะเกษ (2565). สรุปผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ 5 ปีย้อนหลัง. ศรีสะเกษ: เทศบาลเมืองศรีสะเกษ, 2565.

พิมพ์นิภา กาวิน, อนุกูล มะโนทน. ประสิทธิผลขงโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 9 เดือน – 2 ปี 6 เดือน ของผู้ปกครองที่พาเด็กมารับบริการคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยพะเยา, 2563.

Lemeshow S. et al. Adequacy of Sample Size in Health Studies. W.H.O.: John Wiley & Sons. 1990.

เครือวัลย์ นิตย์คำหาญ. “ผลของโปรแกรมการส่งเสริมผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปาก ของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคำแก่นคูณ ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น”, วารสารทันตาภิบาล. 23(1): 51-60; มกราคม, 2555.

มนัสนันท์ ชมภูวิเศษ, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และมลินี สมภพเจริญ. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2565.

จุฑามาศ สิทธิขันแก้ว. ผลของโปรแกรมส่งเสริมผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0-3 ปี ที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่บง ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยพะเยา, 2561.

ดุลยรัตน์ โถวประเสริฐ. ผลของการอ่านสื่อนิทานต่อพฤติกรรมการเลิกใช้ขวดนมของเด็กและทัศนคติของผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารทันตาภิบาล. 32(1): 1-12; มกราคม, 2564.

รัตนาภรณ์ บทมาตย์ และรุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กโดยผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลโพนทอง อำเภอโพนตากจังหวัดหนองคาย. วารสารทันตาภิบาล. 23(1): 28-39; มกราคม, 2555.

ศรสวรรค์ จันทร์ประเสริฐ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการควบคุมพฤติกรรมการดูแลสุภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตพบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 16(1): 28-39; มกราคม, 2564.

ลือจรรยา สมสวย. โปรแกรมทันตสุขศึกษาสำหรับผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์): บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554.

ธิดารัตน หมีแก้ว และนิพนธ์ มานะสถิตพงศ์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 18(2): 304-320; ธันวาคม, 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

คำโสภา ก. ., & บุตรสอน อ. . (2024). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสำนักอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 271–283. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3546